เคล็ด (ไม่) ลับ บรรทุกของท้ายรถกระบะอย่างไร ไม่ให้โดนจับ!

เคล็ด (ไม่) ลับ บรรทุกของท้ายรถกระบะอย่างไร ไม่ให้โดนจับ!
เคล็ด (ไม่) ลับ บรรทุกของท้ายรถกระบะอย่างไร ไม่ให้โดนจับ!

ต้องยอมรับจริงๆ ว่าในปัจจุบันภายในบ้านเมืองเรานั้นรถกระบะถูกทำให้กลายเป็นเพื่อนคู่คิดของหลายครอบครัว หลายกิจการ นอกจากใช้ขับขี่แล้วยังถูกนำไปใช้บรรทุกสิ่งของหลายอย่างอีกด้วย แต่บางครั้งการบรรทุกของที่มากเกินไปก็อาจเป็นอันตรายบนท้องถนนได้ วันนี้วิริยะประกันภัยขอมาแชร์เคล็ดลับวิธีบรรทุกของท้ายรถกระบะอย่างปลอดภัย บรรทุกอย่างไรไม่ให้โดนจับ

       1. บรรทุกของต้องคำนึงถึงความกว้าง / ยาว / สูง
       เมื่อมีการบรรทุกของต่างๆ ต้องคำนึงถึงความเสี่ยงความปลอดภัยเป็นหลัก และยังช่วยไม่ให้ถูกปรับอีกด้วย โดยคุณจะต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ 

       - ความกว้าง
       ให้บรรทุกได้ไม่เกินส่วนกว้างของตัวรถ 

       - ความยาว
       เมื่อบรรทุกของต้องไม่ยื่นเกินหน้าหม้อรถ และมีความยาว      ด้านหลังยื่นพ้นตัวรถไม่เกิน 2.50 เมตร 

       - ความสูง 
       เมื่อบรรทุกของโดยส่วนใหญ่แล้วรถกระบะ หรือ รถบรรทุกของจะมีความสูงจากพื้นไม่เกิน 3.00 เมตร แต่หากว่าตัวรถมีความกว้างกว่า 2.30 เมตร จะบรรทุกสูงจากพื้นได้ไม่เกิน 3.80 เมตร 


       2. บรรทุกของแบบเปิดท้ายกระบะ
       กรณีหากมีความจำเป็นต้องบรรทุกของแบบเปิดท้ายกระบะในช่วงเวลากลางวันให้หาธงสีแดงเรืองแสงสี่เหลี่ยมพื้นผ้ากว้าง 30 เซนติเมตร ยาว 45 เซนติเมตร มาติดไว้ที่ของเพื่อเป็นสัญญาณให้รถคันหลังระมัดระวัง และมองเห็นได้อย่างชัดเจน หากเป็นช่วงเวลากลางคืน หรือ เวลาที่ไม่สามารถมองเห็นได้ในระยะ 150 เมตร ต้องติดไฟสัญญาณสีแดงที่มองเห็นชัดเจน เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน


       3. การดัดแปลงรถกระบะเพิ่มเติมสำหรับบรรทุกของ
       หลายคนอาจดัดแปลงหรือต่อเติมรถกระบะ เพื่อความสะดวกในการบรรทุกของ แต่รู้หรือไม่ว่าการทำแบบนั้นผิดต่อข้อกฏหมายซึ่งระบุตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 12 ประกอบมาตรา 60 มีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 2,000 บาท โดยระบุว่าในการดัดแปลงตัวรถหรือส่วนใดส่วนนึงของตัวรถจากรายการที่จดทะเบียนนั้น เช่น การติดตะแกรงเหล็กเสริมรั้วกระบะข้าง, การติดโครงเหล็กตะแกรงบนหลังคา จะต้องมีการแจ้งเข้าตรวจสภาพและแจ้งแก้ไข ณ สำนักงานขนส่งที่จดทะเบียนไว้ เพื่อตรวจสอบว่ามีความแข็งแรงทนทานหรือไม่ และป้องกันการเกิดอันตรายหากมีการหลุดร่วงของตะแกรงเหล็กจนเกิดอุบัติเหตุตามมา

       4. รถกระบะที่บรรทุกเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ 
       การบรรทุกเครื่องดื่มมึนเมา หรือ สุรา ตามกฏหมายพ.ร.บ. สุรา พ.ศ. 2493 ในมาตรา 14 และตามมาตรา 15 ระบุไว้ว่าผู้ใดทำการขนส่งสุราในราชอาณาจักรเกินกว่า 1 ลิตร แต่ไม่ถึง 10 ลิตร เข้าในหรือออกนอกเขตพื้นที่ต้องได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานสรรพสามิต ศุลกากร  และต้องพกใบอนุญาตติดรถไว้ด้วย สรุปแล้วก็คือไม่สามารถบรรทุกเหล้าเบียร์ขึ้นรถได้เกิน 10 ลิตร ถ้าหากจะขนสุราในปริมาณ 10 ลิตร หรือเกินกว่านั้นจะต้องมีใบอนุญาตนั่นเอง
    
       รู้แบบนี้แล้วก็ควรปฏิบัติตามข้อกำหนดกฏหมายรวมถึงข้อห้ามต่างๆ ของการบรรทุกของ เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณและเพื่อนร่วมทาง

ใครที่กำลังมองหาประกันรถยนต์หรือต้องการทำประกันรถยนต์ ที่สามารถคุ้มครองรถติดแก๊สได้ครอบคลุมและรวดเร็ว เราขอแนะนำประกันรถยนต์จากวิริยะประกันภัย ทำประกันภัยรถยนต์ก็เป็นสิ่งสำคัญในการคุ้มครองรถยนต์ของคุณได้ไม่ว่าจะเป็น ประกันชั้น 1 ที่ดูแลครบ จบทุกความต้องการหรือ ประกันรถยนต์ 2+ ซื้อง่ายคุ้มครองเร็ว หรือประกันรถยนต์ 3+ ประกันคุ้มจบในที่เดียว และใครที่กำลังมองหาการต่อพรบรถยนต์ที่คุ้มค่า ที่วิริยะประกันภัยเรามีครบจบที่เดียวสามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.viriyah.com หรือโทรสอบถามข้อมูลได้ที่ 0-2129-7474

อ่านบทความอื่นๆ