รู้หรือไม่ พ.ร.บ. รถยนต์ สามารถเคลมสิ่งเหล่านี้ได้ !

รู้หรือไม่ พ.ร.บ. รถยนต์ สามารถเคลมสิ่งเหล่านี้ได้ !
รู้หรือไม่ พ.ร.บ. รถยนต์ สามารถเคลมสิ่งเหล่านี้ได้ !

เชื่อว่าผู้ขับขี่รถยนต์ทุกคนทราบกันดีอยู่แล้วว่า พ.ร.บ. รถยนต์ หรือประกันรถยนต์ภาคบังคับ มีความสำคัญต่อรถยนต์อย่างไร ซึ่งนอกจากคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุแล้ว พ.ร.บ. รถยนต์ ยังมีประโยชน์ในด้านอื่นอีกด้วย วันนี้เราจะพาไปหาคำตอบกันว่า พ.ร.บ. รถยนต์ ที่เราต่อกันทุกปีนี้คุ้มครองอะไรบ้าง และสามารถเคลมอะไรได้บ้าง

พรบ รถยนต์ ที่ควรรู้
รู้หรือไม่ พ.ร.บ. รถยนต์ เคลมอะไรได้บ้าง

อย่างที่ทุกคนทราบกันว่า พ.ร.บ. รถยนต์ หรือประกันรถยนต์ภาคบังคับ เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำและมีไว้ติดรถยนต์ เพราะหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นแล้วผู้ประสบภัยได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต จะสามารถเคลม พ.ร.บ. รถยนต์ หรือเบิกประกัน พ.ร.บ. รถยนต์ได้ ดังนี้


1. ค่าเสียหายเบื้องต้น (สามารถเคลมได้ โดยยังไม่ต้องพิสูจน์ความผิด)

  • ค่ารักษาพยาบาล (จ่ายตามจริง) ในกรณีที่ได้รับบาดเจ็บ โดยสามารถเบิกได้สูงสุด 30,000 บาท
  • กรณีผู้ประสบภัยเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพถาวร (พิการ) สามารถเบิกได้สูงสุด 35,000 บาท
  • โดยในกรณีที่ได้รับความเสียหายทั้ง 2 รูปแบบ จะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นชดเชยรวมกันไม่เกิน 65,000 บาท

2. ค่าเสียหายส่วนเกิน 

ในส่วนนี้จะจ่ายหลังจากที่พิสูจน์ความผิดแล้ว โดยบริษัทประกันของฝ่ายที่ผิดจะเป็นคนชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ประสบภัยหรือทายาทของผู้ประสบภัย ซึ่งแบ่งเป็นกรณีดังนี้

  • กรณีบาดเจ็บ จะจ่ายชดเชยค่ารักษาพยาบาล รวมค่าสินไหมทดแทนให้ไม่เกิน 80,000 บาท
  • กรณีเสียชีวิต ทุพพลภาพ หรือสูญเสียอวัยวะ จะจ่ายชดเชยให้ทั้งหมดเป็นจำนวน 300,000 บาท ซึ่งรวมถึงค่ารักษาพยาบาลด้วย

3. ค่าสินไหมทดแทน (กรณีที่เป็นฝ่ายถูก)

ในกรณีที่ผู้ประสบภัยพิสูจน์แล้วว่าเป็นฝ่ายถูก จะสามารถเบิกค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติมได้ดังต่อไปนี้

  • ค่ารักษาพยาบาล (ตามจริง) สูงสุดคนละ 80,000 บาท
  • กรณีเสียชีวิต หรือทุพพลภาพถาวร คนละ 500,000 บาท
  • กรณีสูญเสียอวัยวะ 2 ส่วนขึ้นไป ได้รับเงินชดเชยคนละ 500,000 บาท
  • กรณีสูญเสียอวัยวะ 1 ส่วน ได้รับเงินชดเชยคนละ 250,000 บาท
  • กรณีสูญเสียนิ้ว ตั้งแต่ 1 นิ้วขึ้นไป ได้รับเงินชดเชยคนละ 200,000 บาท
  • ทุพพลภาพถาวร (ในกรณีนี้หมายถึง ไม่สามารถประกอบอาชีพประจำได้) ได้รับเงินชดเชยคนละ 300,000 บาท
  • กรณีนอนรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน ได้รับเงินชดเชยวันละ 200 บาท (ไม่เกิน 20 วัน)

เอกสารในการเคลม พรบ รถยนต์
 

เอกสารในการเคลม พ.ร.บ. รถยนต์

  1. สำเนาบัตรประชาชน ของผู้ประสบภัย (หากอายุไม่ถึง 15 ปี ให้ใช้ใบสูติบัตรแทน)
  2. สำเนาทะเบียนบ้าน
  3. สำเนาทะเบียนรถคันที่เกิดเหตุ
  4. สำเนาใบขับขี่ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (ในกรณีที่ผู้ประสบภัยเป็นผู้ขับขี่)
  5. ใบแจ้งความหรือบันทึกประจำวันจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ
  6. สำเนาใบกรมธรรม์ พ.ร.บ. รถยนต์

กรณีบาดเจ็บ

  1. สำเนาบัตรประชาชน หรือ สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ประสบภัย
  2. ใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาล

กรณีเสียชีวิต

  1. สำเนาบัตรประชาชนของผู้ประสบอุบัติเหตุ
  2. ใบมรณบัตร
  3. สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของทายาท
  4. สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน หรือหลักฐานที่แสดงว่าผู้ประสบภัยเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์

กรณีทุพพลภาพ

  1. สำเนาบัตรประชาชนผู้ประสบเหตุ
  2. ใบรับรองแพทย์และหนังสือรับรองการเป็นผู้พิการ
  3. สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน หรือหลักฐานที่แสดงว่าผู้ประสบเหตุได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์

กรณีเบิกค่ารักษาพยาบาล ผู้ป่วยใน

  1. ใบรับรองแพทย์หรือหนังสือรับรองการรักษาตัว เป็นผู้ป่วยใน
  2. สำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาหนังสือเดินทางของผู้ประสบภัย

หากไม่ทำ พ.ร.บ. รถยนต์ จะเป็นอย่างไร ?

หากฝ่าฝืนไม่ทำ พ.ร.บ. รถยนต์ หรือไม่ได้ทำการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ที่ขาดจะเท่ากับการกระทำผิดกฎหมาย โดยมีบทลงโทษ ดังนี้

  • หากรถไม่มี พ.ร.บ. รถยนต์ หรือไม่ได้ต่อพรบรถยนต์ หากประสบอุบัติเหตุจะไม่ได้รับความคุ้มครองใดๆ 
  • ในกรณีที่คู่กรณีเป็นฝ่ายผิด หากต้องทำการเบิกหรือเคลมค่ารักษาพยาบาลสามารถทำได้ เพียงแต่ต้องออกค่าใช้จ่ายล่วงหน้าไปก่อน ระหว่างที่รอผลการพิสูจน์ว่าผิดหรือถูก
  • ในกรณีที่เป็นฝ่ายผิด กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถจะมาไล่เบี้ยคุณ และบวกเงินเพิ่มอีก 20% พร้อมกับค่าปรับที่นำรถ ไม่มี พ.ร.บ. รถยนต์ หรือไม่ได้ต่อพรบรถยนต์ มาใช้เป็นจำนวนเงินไม่เกิน 10,000 บาท
  • ปรับสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท
  • ไม่สามารถต่อภาษีรถยนต์ได้ หากถูกตำรวจจับจะต้องเสียค่าปรับป้ายวงกลมจำนวน 400-1,000 บาท และเมื่อไปต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ อีกครั้งจะต้องเสียค่าปรับดอกเบี้ยอีกเดือนละ 1% หากปล่อยทิ้งไว้นานเกิน 3 ปี ทะเบียนรถยนต์จะถูกระงับการใช้งานและโดนค่าปรับอีก 1,000 บาท

จะเห็นได้ว่าค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เสียไปกับการไม่ทำ พ.ร.บ. รถยนต์ หรือไม่ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ นั้นค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ หรือทำ พ.ร.บ. รถยนต์ ให้ถูกต้อง นอกจากนี้หากทำ พ.ร.บ. รถยนต์แล้ว ยังได้รับความคุ้มครองรวมถึงการเคลมค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่คุณไม่ต้องใช้เงินส่วนตัวอีกด้วย เห็นข้อดีและวิธีการจัดการเคลม พ.ร.บ. รถยนต์แบบนี้แล้ว ก็อย่ารอช้าที่จะทำหรือต่อ พ.ร.บ. รถยนต์กันนะครับ 


    สำหรับใครที่กำลังมองหา พ.ร.บ. รถยนต์ ที่สะดวกสบายในการทำและการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ที่รวดเร็วทันใจ เราขอแนะนำ วิริยะประกันภัย เป็นตัวช่วยในการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ หรือทำ พ.ร.บ. รถยนต์ เราขอแนะนำประกันภัยรถยนต์ จากวิริยะประกันภัย หลากหลายประกันภัยที่สามารถคุ้มครองรถยนต์ของคุณได้ไม่ว่าจะเป็น ประกันชั้น 1 ที่ดูแลครบ จบทุกความต้องการหรือ ประกันรถยนต์ 2+ ซื้อง่ายคุ้มครองเร็ว หรือประกันรถยนต์ 3+ ประกันคุ้มจบในที่เดียว และใครที่กำลังมองหาการต่อพรบรถยนต์ที่คุ้มค่า ที่วิริยะประกันภัยเรามีครบจบที่เดียวสามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.viriyah.com หรือ โทร.สอบถามได้ที่เบอร์ 0-2129-7474

อ่านบทความอื่นๆ