ฝนตก ถนนลื่น รถยนต์เสียหลักชนเสาไฟฟ้า… ประกันจ่ายหรือไม่?


หน้าฝนแบบนี้ หลายคนคงเคยเจอสถานการณ์ลุ้นๆ ขณะขับรถอยู่บ้าง ไม่ว่าจะถนนลื่น ทัศนวิสัยไม่ดี เบรกไม่ทันจนรถเกือบเสียหลักลงไหล่ทาง หรือพุ่งชนสิ่งกีดขวางอย่าง ‘เสาไฟฟ้า’ คำถามที่ตามมาคือ ประกันรถยนต์จะคุ้มครองไหม? ประกันที่ทำอยู่ช่วยได้แค่ไหน มาหาคำตอบไปพร้อมกันในบทความนี้
ขับรถยนต์ชนเสาไฟฟ้า มีความผิดอย่างไร
หากเกิดอุบัติเหตุรถยนต์ชนเสาไฟฟ้า แม้จะเกิดจากความไม่ตั้งใจ แต่การขับรถชนของหลวงจะมีความผิดตามกฎหมายประมวลอาญาหมวดที่ 7 ฐานทำให้เสียทรัพย์ในมาตรา 360 ที่ระบุไว้ว่า ‘ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่าหรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งทรัพย์สินที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ’
แต่อย่าเพิ่งตกใจไป หลังเกิดอุบัติเหตุสามารถติดต่อหน่วยงานที่รับผิดชอบ เพื่อขอปรึกษาและเจรจาต่อรองค่าเสียหาย ด้วยการผ่อนชำระหรือขอไกล่เกลี่ยหนี้ทั้งหมดก็จะไม่ถูกดำเนินคดี
ขับรถยนต์ชนเสาไฟฟ้า ต้องจ่ายเท่าไร
เสาไฟฟ้าถือเป็นทรัพย์สินที่อยู่ในการดูแลของการไฟฟ้า ทั้งการไฟฟ้านครหลวงและส่วนภูมิภาค ซึ่งค่าปรับเสาไฟฟ้าจะถูกประเมินจากความสูงของเสาไฟฟ้าและกำลังไฟ ตามนี้
- เสาไฟฟ้าแรงต่ำ - กลาง - สูง และอุปกรณ์ต่างๆ เช่น สายไฟ, หม้อแปลงไฟฟ้า, ค่าแรงรื้อถอนหรือติดตั้ง จะมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 50,000 - 150,000 บาท
- เสาไฟฟ้าไฮแมส (High Mast Pole) ที่มีความสูง 15 - 30 เมตร และอุปกรณ์ต่างๆ ค่าปรับจะอยู่ที่ 10,000 - 300,000 บาท
หากบนเสาไฟฟ้ามีสายสัญญาณอื่นๆ อย่างโทรศัพท์ อินเทอร์เน็ตร่วมอยู่ด้วย ก็จะมีค่าใช้จ่ายที่ต้องชดใช้เพิ่มเติมให้กับบริษัทที่รับผิดชอบด้วย
ขับรถยนต์ชนเสาไฟฟ้า ต้องจ่ายใคร
ถ้าขับรถยนต์ชนเสาไฟฟ้าจนล้มลงมาทั้งต้นจะต้องจ่ายค่าปรับให้กับการไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (เฉพาะ 3 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ, นนทบุรี และสมุทรปราการ) เพราะเสาไฟฟ้าถือเป็นทรัพย์สินของหน่วยงานนี้
ขับรถยนต์ชนเสาไฟฟ้า ประกันจ่ายไหม
นี่คือคำถามที่หลายคนกังวลมากที่สุด! วันดีคืนดีหากเกิดเหตุการณ์ขับรถยนต์ชนเสาไฟฟ้าขึ้นมาประกันรถยนต์ที่ทำอยู่จะจ่ายไหม? คำตอบคือต้องมาตรวจเช็กประกันรถยนต์ที่ทำอยู่ หากเป็นประกันรถยนต์ชั้น 1 แน่นอนว่าบริษัทประกันจะเป็นคนรับผิดชอบและจ่ายให้ เพราะตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันชั้น 1 จะให้ความคุ้มครองครอบคลุมอุบัติเหตุที่ไม่มีคู่กรณีนั่นเอง
แต่ถ้าทำประกันรถยนต์ชั้นอื่น ไม่ว่าจะชั้น 2, 2+, 3, 3+ ทางประกันรถยนต์จะไม่ให้ความคุ้มครองกรณีที่ชนไม่มีคู่กรณีแบบนี้ แน่นอนว่าเราต้องเป็นคนรับผิดชอบค่าปรับเองทั้งหมด
ได้รู้กันแล้วว่า การขับรถยนต์ชนเสาไฟฟ้านอกจากทำให้เสียเวลา ทรัพย์สินเสียหายแล้ว ยังมีความผิดตามกฎหมายและต้องชดใช้ค่าเสียหายที่อาจมีมูลค่าสูงกว่าที่คิดด้วย ดังนั้นควรใช้ความระมัดระวัง ปฏิบัติตามกฎจราจร ตรวจสภาพรถอย่างส่ำเสมอและมีสติในการขับขี่ไม่ว่าจะเดินทางใกล้ไกล และเพิ่มความอุ่นใจมากขึ้นด้วยการทำประกันรถยนต์ติดรถไว้ เพื่อเป็นตัวช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายหากเกิดเหตุไม่คาดฝันแบบนี้ขึ้น
สำหรับใครที่มองหาประกันรถยนต์หรืออยากทำประกันรถยนต์ที่บริการรวดเร็วทันใจ มีคุณภาพ เป็นธรรม และมีแผนประกันให้เลือกตามความต้องการ เราขอแนะนำประกันรถยนต์จากวิริยะประกันภัย ประกันรถที่จริงใจและจับต้องได้ โดยสามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับแผนประกันต่างๆ ได้ที่ www.viriyah.com หรือ โทร. 0-2129-7474