เลี่ยงด่วน! ถ้าไม่อยากวูบ 9 โรคเสี่ยง ไม่ควรขับรถ
อุบัติเหตุทางรถยนต์สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นขับรถด้วยความประมาท ไม่ระมัดระวัง สภาพแวดล้อม หรือแม้แต่สภาพรถที่ไม่พร้อมต่อการขับขี่ และนอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งสาเหตุที่หลายคนมักมองข้านั่นคือ “ปัญหาด้านสุขภาพของตัวผู้ขับขี่” ซึ่งในปัจจุบันมีโรคบางโรคที่เป็นข้อห้ามในการทำใบอนุญาตขับขี่ เนื่องจากหากมีอาการกำเริบกระทันหันจากโรคต้องห้ามดังกล่าว จะส่งผลกระทบต่อสมรรถนะในการควบคุมรถ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุรุนแรงได้ การทำใบอนุญาตขับขี่จึงจำเป็นต้องมีการตรวจสมรรถภาพร่างกายและใช้ใบรับรองแพทย์ เพื่อยืนยันว่าผู้ขับขี่มีสุขภาพที่แข็งแรง ไม่เป็นโรคต้องห้ามที่ก่อให้เกิดอันตรายทั้งต่อตัวเองและผู้ร่วมทางคนอื่นๆ
โดยจากเดิมกรมการขนส่งทางบกได้กำหนดโรคต้องห้ามในการขับขี่ไว้ 5 โรค ได้แก่ โรคเท้าช้าง โรควัณโรค โรคเรื้อน โรคพิษสุราเรื้อรัง และโรคติดยาเสพติดให้โทษ แต่ในปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขได้เพิ่มอีก 9 โรค วันนี้เราจึงได้รวบรวมข้อมูลมาให้ทุกคนได้ทราบ เพื่อลดความเสี่ยงอุบัติเหตุ เพราะหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นมา มีโอกาสที่จะไม่สามารถเคลมประกันได้ จะมีโรคไหนบ้างไปดูพร้อมกันได้เลย
1.โรคเกี่ยวกับสายตา
เกิดจากความบกพร่องของการทำงานทางสายตา ซึ่งส่งผลต่อทัศนวิสัยในการมองเห็น ไม่ว่าจะเป็น ต้อหิน ต้อกระจก หรือจอประสาทตาเสื่อม ที่จะทำให้มุมมองสายตาแคบลงและมองไฟจราจรพร่ามัว
2.โรคพาร์กินสัน
ผู้ป่วยจะมีอาการเกร็ง มือสั่น เท้าสั่น และเคลื่อนไหวช้า ส่งผลให้มีการตัดสินใจที่ช้ากว่าปกติ และสมถรรภาพในการขับขี่ไม่ดีเท่าที่ควร ซึ่งอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้
3.โรคลมชัก
เกิดจากคลื่นไฟฟ้าในสมองทำงานผิดปกติ ทำให้เกิดอาการสั่น เกร็งชัก และกระตุกโดยไม่รู้สึกตัว อีกทั้งยังทำให้การตัดสินใจช้าลง ซึ่งหากอาการกำเริบ จะทำให้ไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายและควบคุมการขับขี่ได้
4.โรคเบาหวาน (ระยะควบคุมไม่ได้)
หากผู้ป่วยมีปริมาณน้ำตาลในเลือดต่ำ จะทำให้หน้ามืด วิงเวียนศีรษะ สายตาพร่ามัว ใจสั่น หรืออาจถึงขั้นหมดสติได้
5.โรคความดันโลหิตสูง
เกิดจากภาวะที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยง ทำให้การทำงานของสมองหยุดชะงักลง ยิ่งหากมีความเครียดจากการขับขี่ ความดันจะยิ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ จนมีอาการหน้ามืด วิงเวียนศรีษะ แขนขาอ่อนแรง หรืออาจเกิดเส้นเลือดในสมองแตกได้
6.โรคหัวใจ
หากผู้ป่วยมีภาวะเครียด กดดันจากการขับรถนานๆ หรือตกใจกับสถานการณ์ตรงหน้า ซึ่งอาจส่งผลให้มีอาการแน่นหน้าอก เจ็บหน้าอก หรืออาจรุนแรงถึงขั้นหัวใจวายเฉียบพลันได้ ทั้งนี้อาจนำไปสู่อุบัติเหตุร้ายแรงได้เช่นกัน
7.โรคข้อเสื่อม ข้ออักเสบ
มีอาการปวดบริเวณข้อเมื่อขับรถนานๆ เนื่องจากข้อเสื่อมสภาพ จึงทำให้ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างเต็มที่ ซึ่งหากเกิดอุบัติ อาจทำให้ได้รับบาดเจ็บรุนแรงได้
8.โรคหลอดเลือดสมอง
ผู้ป่วยจะมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงและสมองสั่งการได้ช้าลง ซึ่งส่งผลต่อการตัดสินใจและตอบสนองในการขับขี่
9.โรคทางสมองและระบบประสาท
ในระดับที่ไม่มากจนเกินไป มีเพียงอาการหลงลืม ส่งผลให้การตัดสินใจช้า จดจำเส้นทางไม่ได้ ขาดสมาธิในการขับขี่ ซึ่งอาจทำให้ขับรถหลงทางได้
และนอกจาก 9 โรคอันตรายที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ผู้ที่รับประทานยาบางชนิดที่มีผลทำให้เกิดอาการง่วงซึม ควรหลีกเลี่ยงการขับรถ เนื่องจากหากมีอาการง่วงซึม จะส่งผลให้การตอบสนองและการตัดสินใจช้าลงกว่าปกติ ทำให้ความสามารถในการขับขี่ลดน้อยลง ซึ่งอาจจะเสี่ยงต่ออุบัติเหตุไม่คาดฝันได้
ใครที่กำลังมองหาประกันรถยนต์หรือต้องการทำประกันรถยนต์ เราขอแนะนำประกันรถยนต์จากวิริยะประกันภัย ทำประกันภัยรถยนต์ก็เป็นสิ่งสำคัญในการคุ้มครองรถยนต์ของคุณได้ไม่ว่าจะเป็น ประกันชั้น 1 ที่ดูแลครบ จบทุกความต้องการหรือ ประกันรถยนต์ 2+ ซื้อง่ายคุ้มครองเร็ว หรือประกันรถยนต์ 3+ ประกันคุ้มจบในที่เดียว และใครที่กำลังมองหาการต่อพรบรถยนต์ที่คุ้มค่า ที่วิริยะประกันภัยเรามีครบจบที่เดียวสามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.viriyah.com หรือโทรสอบถามข้อมูลได้ที่ 0-2129-7474