เมาแล้วขับ มีโทษอย่างไร? รถชนมา ประกันให้ความคุ้มครองไหม?

เมาแล้วขับ มีโทษอย่างไร? รถชนมา ประกันให้ความคุ้มครองไหม?
เมาแล้วขับ มีโทษอย่างไร? รถชนมา ประกันให้ความคุ้มครองไหม?

 

      เราจะเห็นข่าวเกี่ยวกับอุบัติเหตุบนท้องถนนที่เกิดจากการ “ดื่มแล้วขับ” อยู่บ่อยๆ ซึ่งผลพวงจากการเมาแล้วขับมีตั้งแต่ได้รับบาดเจ็บ ทรัพย์สินเสียหายและรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิต เพื่อป้องกันอุบัติเหตุและลดการสูญเสีย ทำให้ต้องมีกฎหมายและโทษเมาแล้วขับออกมาควบคุมสายดื่มทั้งหลาย ซึ่งวันนี้เราจะพาไปดูกันว่า เมาแล้วขับมีโทษอย่างไร? ดื่มแล้วขับประกันยังให้ความคุ้มครองอยู่ไหม?

 

ปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเท่าไร ถึงเข้าข่ายโทษเมาแล้วขับ?

การวัดแอลกอฮอล์ในเลือดที่เข้าข่ายดื่มแล้วขับ จะแบ่งออกเป็น 2 กรณีด้วยกัน คือ

1.หากปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดไม่เกิน 20 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ในกรณีที่ผู้ขับขี่มีอายุน้อยกว่า 20 ปีบริบูรณ์ มีใบอนุญาตขับรถชั่วคราว (แบบ 2 ปี) หรืออยู่ในช่วงระหว่างพักใบขับขี่ จะไม่ถือว่าเมาแล้วขับ แต่เป็นเพียงการเมาสุราเท่านั้น ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 21 พ.ศ. 2550 ระบุเอาไว้ใน พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 

2.เมื่อมีแอลกอฮอล์ในเลือดเกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ และมีใบอนุญาตขับขี่รถ 5 ปี หรือตลอดชีพ อายุเกิน 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป จะนับว่ามีโทษเมาแล้วขับ

เมาแล้วขับมีโทษอย่างไร?

โทษเมาแล้วขับที่ผู้ที่ดื่มแล้วขับต้องรับ ตามที่กฎหมายบังคับใช้ มีดังนี้

1.ผลแอลกอฮอล์จากการเป่ามีค่าเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด

สำหรับโทษเมาแล้วขับที่มีค่าแอลกอฮอล์เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด คือ จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับตั้งแต่ 5,000 - 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และถูกพักใบขับขี่ไม่ต่ำกว่า 6 เดือน หรือเพิกถอนใบขับขี่ถาวร

2.หลีกเลี่ยงการเป่าแอลกอฮอล์

ถ้าไม่ยอมเป่าแอลกอฮอล์ จะถูกนับว่าดื่มแล้วขับทันทีและจะมีโทษเมาแล้วขับเหมือนกัน คือ จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับตั้งแต่ 5,000 - 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และถูกพักใบขับขี่ไม่ต่ำกว่า 6 เดือน หรือเพิกถอนใบขับขี่ถาวร 

3.โทษเมาแล้วขับ จนทำให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บตามร่างกาย

ในกรณีที่ดื่มแล้วขับ จนทำให้เกิดอุบัติเหตุให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บต่อร่างกายหรือจิตใจ จะมีโทษเมาแล้วขับ คือ จำคุกตั้งแต่ 1-5 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 - 100,000 บาท รวมถึงพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ไม่ต่ำกว่า 1 ปี หรือเพิกถอนใบขับขี่ถาวร

4.ดื่มแล้วขับ จนทำให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บสาหัส

หากเป็นกรณีที่ดื่มแล้วขับ จนทำให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บสาหัส จะมีโทษเมาแล้วขับ คือ จำคุกตั้งแต่ 2-6 ปี ปรับตั้งแต่ 40,000 - 120,000 บาท พักใบอนุญาตขับขี่ไม่ต่ำกว่า 1 ปี หรือเพิกถอนใบขับขี่ถาวร

5.โทษเมาแล้วขับ จนทำให้ผู้อื่นเสียชีวิต

สำหรับโทษเมาแล้วขับในข้อนี้ ถือเป็นโทษทางกฎหมายที่หนักที่สุด เพราะต้องถูกจำคุกตั้งแต่ 3-10 ปี ปรับเป็นเงิน 60,000 - 200,000 บาท และเพิกถอนใบขับขี่ถาวร

 

หมายเหตุ : หากอยู่ในระหว่างถูกคาดโทษเอาไว้และมีการทำผิดซ้ำสอง จะมีการเพิ่มอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับตั้งแต่ 50,000 - 100,000 บาท พักใบอุนญาตขับขี่ไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือเพิกถอนใบขับขี่ถาวร

 

สาเหตุที่ไม่ควรดื่มแล้วขับ มีอะไรบ้าง?

เห็นได้ว่าอุบัติเหตุส่วนใหญ่ที่เกิดจากการดื่มแล้วขับ มักมาจากการเชื่อมั่นในตนเองของผู้ขับขี่ โดยที่ไม่รู้ว่าการดื่มแล้วขับ ส่งผลข้างเคียงหลายอย่างจนทำให้เกิดอุบัติเหตุดังนี้

-  สายตาตาพร่ามัว ทำให้มองเห็นทางหรือสภาพแวดล้อมไม่ชัด โดยเฉพาะการขับขี่ในช่วงเวลากลางคืน ยิ่งเพิ่มโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุขึ้นไปอีก

-  ความคึกคะนอง เมื่อมีอาการเมาสุราจะทำให้มีความกล้ามากขึ้น จนทำให้การขับขี่ดูน่าหวาดเสียวและเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายกับตนเอง ทรัพย์สินหรือผู้ใช้ถนนร่วมได้ง่ายๆ

-  การตอบสนองและประมวลผลช้าลง การดื่มแล้วขับนอกจากจะทำให้ปวดหัว ไม่มีความพร้อมในการขับขี่แล้ว ยังทำให้สมองประมวลผลได้ช้าลง การตอบสนองจึงช้าลงไปด้วยแม้จะเกิดเหตุรถชนแล้วก็ตาม

-  มีโอกาสหลับใน เพราะฤทธิ์ของสุรานั้นไปกดระบบประสาท ทำให้มีความง่วงซึมจนอาจทำให้เกิดอาการหลับในขณะขับขี่ได้ ซึ่งนำไปสู่อุบัติเหตุที่ไม่คาดคิดในที่สุด

ดื่มแล้วขับ ประกันรถยนต์ยังคุ้มครองอยู่ไหม?

ก่อนอื่นต้องแบ่งออกเป็น 2 กรณีก่อน เนื่องจากประกันรถยนต์นั้นมีทั้งภาคสมัครใจ (ประกันรถยนต์ชั้น 1, ประกันรถยนต์ชั้น 2+, ประกันรถยนต์ชั้น 3+) และภาคบังคับ (พ.ร.บ. รถยนต์) ซึ่งในประกันรถยนต์แต่ละประเภทก็จะมีความคุ้มครองที่ต่างกันไป ดังนี้

1.หากดื่มแล้วขับจนเกิดอุบัติเหตุ พ.ร.บ.รถยนต์ จะยังให้ความคุ้มครองผู้เอาประกันรถยนต์และคู่กรณีอยู่ โดยที่จะไม่พิสูจน์ความผิด และจ่ายค่าสินไหมทดแทนสำหรับค่ารักษาพยาบาลเพื่อให้ได้รับการรักษาทันที แต่ค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นกับรถยนต์ ทาง พ.ร.บ. รถยนต์จะไม่คุ้มครอง

2.หากดื่มแล้วขับ และมีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดไม่เกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ประกันรถยนต์จะให้ความคุ้มครองทั้งผู้เอาประกันและผู้เสียหาย แต่ถ้าเกินกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ประกันรถยนต์ที่ทำอยู่จะไม่ให้ความคุ้มครองผู้เอาประกัน แม้จะเป็นประกันรถยนต์ชั้น 1 ก็ตาม

 

เห็นไหมครับว่าเมาแล้วขับมีโทษอย่างไร นอกจากโทษเมาแล้วขับที่ต้องรับผิดชอบแล้ว คุณยังต้องเตรียมเงินสำหรับจ่ายค่าปรับจำนวนมากด้วย ดังนั้น หากรู้ว่ามีนัดสังสรรค์และต้องดื่มแอลกอฮอล์ แนะนำให้นั่งรถโดยสารสาธารณะเพื่อความปลอดภัยของทั้งตัวคุณเอง ผู้ใช้ถนนร่วมและทรัพย์สิน อีกทั้งควรทำประกันรถยนต์ติดรถไว้เพื่อความอุ่นใจในการขับขี่ และป้องกันการเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝันขึ้นได้อย่างครอบคลุม 

หากใครที่กำลังมองหาประกันรถยนต์คุณภาพดี บริการรวดเร็ว ราคาเป็นธรรม สามารถเข้ามาดูรายละเอียดประกันรถยนต์ต่างๆ ได้ที่ www.viriyah.com หรือ โทร. 0-2129-7474 

 

 

อ่านบทความอื่นๆ