บริษัทประกันภัยมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายแทนผู้เอาประกันภัยได้หรือไม่

บริษัทประกันภัยมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายแทนผู้เอาประกันภัยได้หรือไม่
บริษัทประกันภัยมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายแทนผู้เอาประกันภัยได้หรือไม่

 ประมวลกฏหมายแพ่งพาณิชย์ ในมาตรา 880 ได้บัญญัติไว้ชัดเจนว่า บริษัทประกันภัยมีสิทธิฟ้องร้องค่าเสียหายแทนผู้เอาประกันภัยได้

    มาตรา 880 ถ้าความวินาศภัยนั้นได้เกิดขึ้นเพราะการกระทำของบุคคลภายนอกไซร้ ผู้รับประกันภัยได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปเป็นจำนวนเพียงใด ผู้รับประกันภัยย่อมเข้ารับช่วงสิทธิ์ของผู้เอาประกันภัยและของผู้รับประโยชน์ซึ่งมีต่อบุคคลภายนอกเพียงนั้น

    ถ้าผู้รับประกันภัยได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปแต่เพียงบางส่วนไซร้ ท่านห้ามมิให้ผู้รับประกันภัยนั้นใช้สิทธิของตนให้เสื่อมเสียสิทธิ์ของผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ ในการที่เขาจะเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากบุคคลภายนอกเพื่อเศษแห่งจำนวนวินาศนั้น

    ข้อความในข้อกฏหมายที่ว่า "ผู้รับประกันภัยย่อมเข้ารับช่วงสิทธิ์ของผู้เอาประกันภัยและของผู้รับผลประโยชน์" เป็นตามหลักสำคัญพื้นฐานของสัญญาประกันภัย ซี่งมีอยู่ 6 หลักด้วยกัน หนึ่งนั้นเรียกว่า "หลักรับช่วงสิทธิ์"  ซึ่งหมายถึง การที่ผู้รับประกันภัยเข้าไปใช้สิทธิ์ทั้งปวงของผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ เท่าจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่ผู้รับประกันภัยได้จ่ายไปด้วยอำนาจของกฎหมาย

    ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามความเป็นจริง และเพื่อให้บุคคลภายนอกซึ่งเป็นผู้ก่อวินาศภัยนั้น ต้องรับผิดชอบในความเสียหายที่ตนได้กระทำขึ้น อีกทั้งผู้เอาประกันภัยจะเรียกร้องค่าเสียหายจำนวนเดียวกันทั้งจากผู้ก่อวินาศภัยและผู้รับประกันภัยไม่ได้ และไม่ว่ากรณีใดผู้รับประกันภัยจะรับช่วงสิทธิ์ไปเกินกว่าจำนวนที่ตนจ่ายค่าสินไหมทดแทนไปไม่ได้เช่นกัน

    การประกันภัยที่จะใช้หลักการรับช่วงสิทธิ์ได้ มีลักษณะทั้ง 3 ประการ คือ เป็นวินาศภัย เป็นวินาศภัยที่เกิดจากการกระทำของบุคคลภายนอก และผู้รับประกันภัยได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงแล้ว

    ส่วนวัตถุประสงค์ของการรับช่วงสิทธิ์ เพื่อป้องกันการแสวงหากำไรของผู้เอาประกันภัย ซึ่งอาจรับผลประโยชน์ทั้งสองทาง คือ จากผู้ที่รับประกันภัยและจากผู้ก่อความเสียหาย และเพื่อให้บุคคลผู้ก่อความเสียหายรับผิดชอบต่อความเสียหายที่ได้ก่อนั้น

    อย่างไรก็ดีหลักของการรับช่วงสิทธิ์นั้น มิได้หมายความว่าบริษัทประกันภัยจะได้สิทธิ์นี้เสมอไป แท้จริงแล้วก็มีข้อยกเว้นอยู่เหมือนกัน ในกรณีที่มีการยอมความกัน หรือบุคคลภายนอกที่ก่อให้เกิดความเสียหายได้หลุดพ้นจากความรับผิดต่อผู้เอาประกันไปแล้ว ผู้รับประกันก็ไม่อาจรับช่วงสิทธิ์ได้ เช่น ต่างตนต่างประมาทและทำรายงานบันทึกประจำวันต่างคนต่างซ่อม เป็นการสละสิทธิ์เรียกร้องค่าสินไหมทดแทนที่พึงมีต่อกัน จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ มูลละเมิดจึงต้องระงับไป (ป.พ.พ. มาตรา 850-852)

    ที่สำคัญการยินยอมนี้สามารถกระทำได้โดยไม่ต้องรับความยินยอมจากบริษัทประกันภัย และบริษัทประกันภัยไม่สามารถใช้หลักการรับช่วงสิทธิฟ้องร้องค่าเสียหายกับคู่กรณีได้ (ฎ. 4045/2548)

ใครที่กำลังมองหาประกันรถยนต์หรือต้องการทำประกันรถยนต์ ที่สามารถคุ้มครองรถติดแก๊สได้ครอบคลุมและรวดเร็ว เราขอแนะนำประกันรถยนต์จากวิริยะประกันภัย ทำประกันภัยรถยนต์ก็เป็นสิ่งสำคัญในการคุ้มครองรถยนต์ของคุณได้ไม่ว่าจะเป็น ประกันชั้น 1 ที่ดูแลครบ จบทุกความต้องการหรือ ประกันรถยนต์ 2+ ซื้อง่ายคุ้มครองเร็ว หรือประกันรถยนต์ 3+ ประกันคุ้มจบในที่เดียว และใครที่กำลังมองหาการต่อพรบรถยนต์ที่คุ้มค่า ที่วิริยะประกันภัยเรามีครบจบที่เดียวสามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.viriyah.com หรือโทรสอบถามข้อมูลได้ที่ 0-2129-7474

อ่านบทความอื่นๆ