ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ คืออะไร ? มือใหม่ต้องรู้ !


“ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ” เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินประโยคนี้กันมาบ้าง แต่จะมีกี่คนที่เข้าใจความหมายของประโยคนี้จริงๆ และสามารถใช้สิทธิ์ได้อย่างถูกต้อง เพราะสิทธิประโยชน์นี้ผู้ที่เสียหายต้องเป็นผู้เรียกร้องด้วยตัวเอง วันนี้เราจะพาไปหาคำตอบกันว่า ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ คืออะไร ? และมีขั้นตอนอะไรบ้างที่ต้องจัดการ
ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ คืออะไร ?
คือเงินค่าชดเชยที่บริษัทประกันภัยรถยนต์ของฝ่ายที่ผิด ต้องชดใช้ให้แก่ผู้เสียหายที่เป็นฝ่ายถูกจากการเสียประโยชน์ที่ไม่มีรถใช้ในระหว่างการซ่อม ซึ่งผู้ที่เป็นฝ่ายถูกต้องเป็นคนเรียกร้องสิทธิ์ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถกับบริษัทประกันฯ ของผู้ที่เป็นฝ่ายผิดด้วยตัวเอง และฝ่ายที่ผิดต้องมีการทำประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจจึงจะเรียกร้องค่าชดเชยในส่วนนี้ได้
ขั้นตอนการขอค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ
- ติดต่อบริษัทประกันภัยของคู่กรณี (ฝ่ายผิด) จากนั้นให้ยืนยันคำเรียกร้องค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ ในช่วงเวลาที่รถของคุณกำลังซ่อมอยู่
- เมื่อบริษัทของคู่กรณีแจ้งเอกสารที่ต้องการมา ให้คุณนำเอกสารต่างๆ จัดส่งไปยังบริษัทของคู่กรณีเพื่อดำเนินการต่อ
- รอบริษัทคู่กรณีติดต่อกลับมา เนื่องจากต้องเช็กข้อมูลเพื่อพิจารณาว่าต้องชดเชยให้กับคุณเท่าไร ทำการประเมิน และเจรจาต่อรอง
- หลังจากตกลงกันเสร็จเรียบร้อย ก็รอรับค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ ภายใน 7 วัน
เอกสารที่จำเป็นในการเรียกค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ
-
ใบเสนอรายการความเสียหายของรถยนต์
-
ใบเคลม (ใบรองรับความเสียหายต่อทรัพย์สิน)
-
สำเนาตารางกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์
-
สำเนาทะเบียนรถยนต์
-
สำเนาใบขับขี่รถยนต์
-
สำเนาบัตรประชาชน
-
ใบรับรถ หรือหนังสือส่งมอบรถเสร็จ
-
รูปถ่ายตอนซ่อม
-
รูปถ่ายความเสียหาย
-
หนังสือเรียกร้องสินไหมค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถระหว่างซ่อม
-
สำเนาหน้าสมุดบัญชีธนาคารของผู้เอาประกัน
ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ เรียกได้เท่าไร
การเรียกค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถมีอัตราขั้นต่ำของการเรียกค่าชดใช้ ตามประกาศ คปภ. วันที่ 1 มกราคม 2562 เพื่อไม่ให้บริษัทประกันภัยเจรจาจ่ายในจำนวนที่ต่ำเกินไป ดังนี้
- รถยนต์ที่นั่งไม่เกิน 7 คน (รวมผู้ขับขี่) อัตราชดเชยไม่น้อยกว่าวันละ 500 บาท
- รถยนต์รับจ้างสาธารณะที่นั่งไม่เกิน 7 คน (รวมผู้ขับขี่) อัตราชดเชยไม่น้อยกว่าวันละ 700 บาท
- รถยนต์ที่มีที่นั่งเกิน 7 คน (รวมผู้ขับขี่) อัตราชดเชยไม่น้อยกว่าวันละ 1,000 บาท
* รถประเภทอื่นๆ ที่ไม่ใช่รถยนต์ในข้อ 1-3 เช่น “รถจักรยานยนต์” ให้เป็นไปตามข้อเรียกร้องและตกลงกันได้ โดยพิจารณาหลักฐานเป็นกรณีไป
** ซึ่งการเรียกร้องค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ สามารถเรียกร้องได้เฉพาะรถยนต์ที่ทำประกันภัยรถยนต์ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562 เท่านั้น
เมื่ออ่านมาจนถึงตรงนี้แล้ว ทุกคนน่าจะเห็นถึงความสำคัญของการทำประกันภัยรถยนต์กันแล้วนะครับ เพราะถึงคุณจะขับรถจนชำนาญแล้ว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุขึ้น และเมื่อเข้าใจแบบนี้แล้วหากรถของคุณเกิดอุบัติเหตุขึ้นแล้วเป็นฝ่ายถูก ก็อย่าลืมเรียกร้องสิทธิ์ของตัวเองกันด้วยนะครับ
สำหรับใครที่กำลังมองหาประกันรถยนต์ที่มีคุณภาพ บริการรวดเร็วทันใจ เป็นธรรมอยู่ เราขอแนะนำประกันรถยนต์ จากวิริยะประกันภัย หลากหลายประกันภัยที่สามารถคุ้มครองรถยนต์ของคุณได้ไม่ว่าจะเป็น ประกันชั้น 1 ที่ดูแลครบ จบทุกความต้องการหรือจะเป็นประกันรถไฟฟ้า ประกันรถยนต์ 2+ ซื้อง่ายคุ้มครองเร็ว หรือประกันรถยนต์ 3+ ประกันคุ้มจบในที่เดียว รวมถึงประกันรถจักรยานยนต์ และประกันบิ๊กไบค์ที่คุ้มครองสูงสุดทันที รวมถึงใครที่กำลังมองหาพรบรถยนต์ที่คุ้มค่า ที่วิริยะประกันภัยเรามีครบจบที่เดียวสามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.viriyah.com หรือ โทร.สอบถามได้ที่เบอร์ 0-2129-7474