รถเบรกแตกหยุดไม่อยู่ ต้องทำอย่างไรถึงจะปลอดภัย ไม่เกิดอุบัติเหตุ

รถเบรกแตกหยุดไม่อยู่ ต้องทำอย่างไรถึงจะปลอดภัย ไม่เกิดอุบัติเหตุ
รถเบรกแตกหยุดไม่อยู่ ต้องทำอย่างไรถึงจะปลอดภัย ไม่เกิดอุบัติเหตุ

รถเบรกแตกหยุดไม่อยู่ ต้องทำอย่างไรถึงจะปลอดภัย ไม่เกิดอุบัติเหตุ

ขึ้นชื่อว่าอุบัติเหตุ แน่นอนว่าเป็นเรื่องที่ไม่มีใครรู้และไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ว่าจะเกิดขึ้นตอนไหน ซึ่งเหตุการณ์รถเบรกแตก ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุจนถึงชีวิตได้เช่นกัน วันนี้เราจึงมีวิธีรับมือกับเหตุการณ์รถเบรกแตก ว่าต้องทำอย่างไรถึงจะปลอดภัย รวมถึงสาเหตุที่เบรกแตกเกิดจากอะไร มาบอกผู้ขับขี่ให้รู้กัน

 

รถเบรกแตก เกิดจากสาเหตุใด


เบรกแตก เพราะน้ำมันเสื่อมสภาพ

 

  1. น้ำมันเบรกเสื่อมสภาพ

น้ำมันเบรกเสื่อมสภาพเป็นสาเหตุแรกที่ทำให้รถเบรกแตก เพราะอาจส่งผลให้ลูกยางในกระบอกปั๊มล้อที่ทำหน้าที่ป้องกันน้ำมันรั่วเสื่อมสภาพตามไปด้วย และจะทำให้น้ำมันเบรกเกิดการรั่วซึมออกมาเรื่อยๆ ซึ่งผู้ใช้รถสามารถตรวจสอบด้วยตนเองได้ง่ายๆ คือการถอดล้อ และนำจานเบรกออกมาเปิดดูยางกันฝุ่นที่ครอบตัวกระบอกปั๊มเอาไว้ ว่ามีน้ำมันเบรกรั่วออกมาหรือไม่ หากมีก็ให้ทำการเปลี่ยนทันที

  1. สายอ่อน หรือท่อทางเดินน้ำมันเบรกรั่ว

อาการนี้สามารถสังเกตได้ง่ายๆ คือ ให้ดูที่สายว่ามีคราบหรือรอยซึมของน้ำมันเบรกไหลออกมาหรือไม่

  1. แรงดันของน้ำมันเบรกมาไม่เต็มระบบ

อาการนี้เกิดขึ้นจากการที่มีอากาศอยู่ในระบบน้ำมันเบรก ซึ่งอาจเกิดจากการที่ไล่อากาศหรือไล่ลมออกไปไม่หมด เมื่อทำการเปลี่ยนน้ำมันเครื่องใหม่ จึงส่งผลให้แรงดันน้ำมันเบรกไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่

  1. น้ำมันเบรกหมดหรือเหลือน้อย

หากเกิดเหตุน้ำมันเบรกหมดหรือเหลือน้อย จะส่งผลให้เบรกใช้งานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ นั่นก็คือ เบรกไม่ค่อยอยู่ หรือเบรกจมลึกกว่าปกติ ให้ทำการตรวจเช็กและรีบเติมน้ำมันเบรกให้ถึงระดับที่กำหนดเพื่อความปลอดภัย

  1. น้ำมันเบรกชื้น

ขณะที่เหยียบเบรก เบรกจะมีความร้อนและเกิดการเสียดสีขึ้น หากน้ำมันเบรกมีความชื้นผสมอยู่ น้ำมันจะระเหยกลายเป็นไอทำให้ลูกสูบไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ จนส่งผลให้รถเบรกแตกหรือไม่เบรกไม่อยู่นั่นเอง

  1. สายเบรกขาด

ในกรณีนี้อาจเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยาก แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีโอกาสเกิดขึ้นเลย ซึ่งก่อนออกรถทุกครั้งควรทำการตรวจเช็กเสมอ ด้วยการดูใต้ท้องรถว่ามีน้ำมันรั่วหรือไม่ และก่อนที่จะออกรถให้ทดสอบด้วยการเหยียบเบรกดูว่าเบรกอยู่หรือไม่


สาเหตุที่ทำให้เบรกแตกเกิดจากอะไร

7.ผ้าเบรก

หากผ้าเบรกหมดหรือผ้าเบรกไหม้ ก็มีโอกาสที่จะทำให้รถเบรกไม่อยู่หรือรถเกิดเบรกแตกได้

 

เมื่อเกิดเหตุการณ์ “รถเบรกแตก” ต้องทำอย่างไร

เบรกแตกระหว่างขับรถ ต้องทำอย่างไร

 

  • ตั้งสติให้ดี เพราะการมีสติเมื่อเจอปัญหารถเบรกแตก จะช่วยให้สามารถบังคับรถและประเมินสถานการณ์เพื่อแก้ปัญหาล่วงหน้าได้ ในขณะเดียวกันหากลนลาน ไม่มีสติ อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุที่รุนแรงขึ้นได้

  • ถอนคันเร่ง เพื่อลดความเร็วและเปลี่ยนเป็นเกียร์ต่ำ ในกรณีที่หากขับขี่อยู่แล้วรถเบรกแตก ควรถอนคันเร่งเพื่อลดความเร็วและนำระบบเอนจิ้นเบรก (Engine Brake) มาใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยหลังจากถอนคันเร่งเพื่อลดความเร็วแล้ว ให้ทำการชะลอความเร็วด้วยการเหยียบคลัตช์ หากเป็นรถเกียร์ธรรมดา แล้วค่อยๆ ทำการลดตำแหน่งเกียร์ลง ห้ามเปลี่ยนเกียร์ทันทีเนื่องจากอาจทำให้เครื่องยนต์พังได้ เช่นเดียวกันหากเป็นรถเกียร์ออโต้ ให้ทำการเปลี่ยนเกียร์อย่างช้าๆ โดยการไล่ลำดับลงมา

  •  ชิดซ้ายให้เร็วที่สุด หลังจากทำการลดความเร็วลงมาจนคุมรถได้แล้ว พยายามขับรถเข้าเลนซ้ายสุดให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อนำรถหลบข้างทาง ไม่ไปกีดขวางการจราจรของผู้อื่น และควรเปิดไฟฉุกเฉินเอาไว้ตลอดเวลา เพื่อให้รถคันอื่นมองเห็นได้ชัดเจนว่ามีรถจอดอยู่

  • ดึงเบรกมือช่วย การดึงเบรกมือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยชะลอความเร็วของรถลงได้ในกรณีที่รถเบรกแตก เพราะเบรกมือจะช่วยหน่วงความเร็วของล้อ แต่ห้ามดึงแบบรวดเร็วเป็นอันขาด ให้ทำการดึงช้าๆ จนสุด เพียงเท่านี้ก็จะช่วยให้รถชะลอความเร็วลงได้แล้ว

 

วิธีตรวจเช็กระบบเบรกที่สามารถทำได้ด้วยตัวเองง่ายๆ

ตรวจเช็กระบบเบรกเองได้ง่ายๆ

 

  1. เช็กกระปุกน้ำมันเบรกให้อยู่ในระดับที่กำหนดอยู่เสมอ

  2. น้ำมันเบรกต้องมีความใส หากเริ่มมีสีคล้ำต้องรีบเปลี่ยนทันที

  3. ตรวจสอบหม้อลมเบรก ว่าพร้อมใช้งานอยู่เสมอ หากรถคันไหนมีระบบเบรก ABS ให้ทำการตรวจสอบระบบเบรกว่ามีอะไรผิดปกติหรือไม่

  4. ตรวจเช็กสายน้ำมันเบรกให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ

  5. ตรวจดูจานเบรกว่าบางและมีรอยสึกเสมอกันทั่วทั้งจานหรือไม่ หากพบว่าจานเบรกบางเกินให้รีบเปลี่ยนทันที

  6. ตรวจเช็กผ้าเบรกด้วยการเช็กร่องกลางผ้าเบรก ถ้าร่องเริ่มตื้นให้ทำการเปลี่ยนทันที

  7. ตรวจดูชุดคาลิเปอร์เบรกว่าสามารถประกบผ้าเบรกกับจานเบรกได้แนบสนิทหรือไม่

  8. ตรวจเช็กระยะเบรกจากแป้นเบรก ว่าระยะเบรกมีความตื้นและลึกพอดีกันหรือไม่

 

เพียงแค่นี้ก็ได้รู้สาเหตุและวิธีป้องกัน “รถเบรกแตก” กันแล้ว หวังว่าข้อมูลที่เรานำมาฝากจะช่วยให้ผู้ขับขี่ทุกคนไม่ประมาทและตรวจเช็กระบบเบรกก่อนออกเดินทางทุกครั้ง ที่สำคัญนอกจากตรวจเช็กสภาพรถแล้ว การทำประกันรถยนต์ ก็เป็นอีกหนึ่งเกราะป้องกันที่จะช่วยให้ผู้ขับขี่อุ่นใจตลอดการเดินทาง 

 

สำหรับใครที่กำลังมองหาประกันรถยนต์ที่มีคุณภาพ บริการรวดเร็วทันใจ เป็นธรรม เราขอแนะนำประกันภัยรถยนต์ จากวิริยะประกันภัย หลากหลายประกันภัยที่สามารถคุ้มครองรถยนต์ของคุณได้ไม่ว่าจะเป็น ประกันชั้น 1 ที่ดูแลครบ จบทุกความต้องการหรือ ประกันรถยนต์ 2+ ซื้อง่ายคุ้มครองเร็ว หรือประกันรถยนต์ 3+ ประกันคุ้มจบในที่เดียว และใครที่กำลังมองหาการต่อพรบรถยนต์ที่คุ้มค่า ที่วิริยะประกันภัยเรามีครบจบที่เดียวสามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.viriyah.com หรือ โทร.สอบถามได้ที่เบอร์ 0-2129-7474

อ่านบทความอื่นๆ