เช็คภาษีรถยนต์ทั่วไป - รถยนต์ไฟฟ้า ปี 2567 ก่อนต่อภาษีประจำปี!

เช็คภาษีรถยนต์ทั่วไป - รถยนต์ไฟฟ้า ปี 2567 ก่อนต่อภาษีประจำปี!
เช็คภาษีรถยนต์ทั่วไป - รถยนต์ไฟฟ้า ปี 2567 ก่อนต่อภาษีประจำปี!

ป้ายสี่เหลี่ยมขนาดเล็กที่ติดอยู่บนกระจกด้านหน้ารถ เป็นสัญลักษณ์ยืนยันว่าผู้ใช้รถยนต์ได้จ่ายภาษีรถยนต์ตามที่กฎหมายบังคับแล้ว ซึ่งภาษีรถยนต์เป็นสิ่งที่ผู้ใช้รถทุกคนต้องจ่ายทุกปีและมีเรทราคาที่แตกต่างกันตามประเภทของรถ แต่ผู้ใช้รถหลายคนอาจยังไม่รู้ว่ารถที่ใช้อยู่ต้องเสียภาษีเท่าไหร่ในปี 2567 วันนี้เราเลยจะพาไปดูข้อมูลเกี่ยวกับการเช็คภาษีรถยนต์ทั่วไปและรถยนต์ไฟฟ้า ปี 2567 กัน 

ทำความรู้จักภาษีรถยนต์

ภาษีรถยนต์ คือค่าใช้จ่ายประเภทหนึ่งที่ผู้ใช้รถยนต์ทุกคนจะต้องจ่ายให้กับกรมการขนส่งทางบก ซึ่งราคาภาษีรถยนต์ที่ต้องจ่ายนั้นขึ้นอยู่กับอายุของรถ น้ำหนักรถและกำลังเครื่องยนต์ (cc) หากจ่ายภาษีเรียบร้อยแล้วกรมการขนส่งทางบกจะส่งแผ่นป้ายภาษีรถยนต์มาให้ผู้ขับขี่ภายใน 10 วัน พร้อมระบุวัน เดือน ปีที่หมดอายุไว้ที่ป้ายอย่างชัดเจน ทั้งนี้ควรนำแผ่นป้ายสี่เหลี่ยมไปติดที่กระจกหน้ารถเพื่อบ่งบอกว่าได้จ่ายภาษีรถยนต์เรียบร้อยแล้ว เพราะหากไม่ติดแผ่นป้ายและโดนเจ้าหน้าที่เรียกตรวจอาจโดนปรับได้

 

เช็คภาษีรถยนต์ 4 ประตู ตามขนาดเครื่องยนต์ปี 2567

รถยนต์ 4 ประตู เป็นรถที่มีผู้ขับขี่จำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นรถเก๋งหรือรถกระบะ ซึ่งภาษีรถยนต์ของรถประเภทนี้จะขึ้นอยู่กับขนาดเครื่องยนต์ที่แตกต่างกัน จึงทำให้เสียภาษีไม่เท่ากัน มาดูกันว่ารถยนต์ 4 ประตู จะต้องจ่ายภาษีรถยนต์กี่บาท

รถ 4 ประตู ขนาดเครื่องยนต์ 1,000 cc

เครื่องยนต์ขนาดเล็กสุดในประเภทรถยนต์ 4 ประตู มีอัตราที่ต้องจ่ายภาษีรถยนต์ใน 5 ปีแรกอยู่ที่ 900 บาทต่อปี และเมื่อรถมีอายุ 6 ปีขึ้นไป จะมีการปรับอัตราภาษีลดลงปีละ 10% สูงสุด 50% ดังนั้นรถยนต์ 4 ประตูที่มีขนาดเครื่องยนต์ 1,000 cc จะต้องจ่ายภาษีรถยนต์ดังนี้

  • 6ปี ราคาอยู่ที่ 810 บาท

  • 7ปี ราคาอยู่ที่ 720 บาท

  • 8ปี ราคาอยู่ที่ 630 บาท

  • 9ปี ราคาอยู่ที่ 540 บาท

  • 10ปี ราคาอยู่ที่ 450 บาท 

รถ 4 ประตู ขนาดเครื่องยนต์ 1,200 cc

มาต่อกันที่เครื่องยนต์ขนาด 1,200 cc ที่มีอัตราการจ่ายภาษีรถยนต์ตลอดระยะเวลา 5 ปีแรกอยู่ที่ 1,200 บาทต่อปี และเมื่อเข้าสู่ปีที่ 6 เป็นต้นไป จะถูกปรับลดอัตราภาษีลงปีละ 10% สูงสุด 50% ดังนั้น รถ 4 ประตู ที่มีขนาดเครื่องยนต์ 1,200 cc ต้องจ่ายภาษีดังนี้

  • 6ปี ราคาอยู่ที่ 1,080 บาท

  • 7ปี ราคาอยู่ที่ 960 บาท

  • 8ปี ราคาอยู่ที่ 840 บาท

  • 9ปี ราคาอยู่ที่ 720 บาท

  • 10ปี ราคาอยู่ที่ 600 บาท 

รถ 4 ประตู ขนาดเครื่องยนต์ 1,500 cc

ภาษีรถยนต์ของรถยนต์ 4 ประตู ที่มีขนาดเครื่องยนต์ 1,500 cc จะอยู่ที่ 1,650 บาทต่อปี แต่เมื่อรถมีอายุเกิน 6 ปีขึ้นไป อัตราภาษีรถจะถูกปรับลดลงปีละ 10% สูงสุด 50% ดังนั้น รถ 4 ประตู ที่มีขนาดเครื่องยนต์ 1,500 cc ต้องจ่ายภาษีรถยนต์ดังนี้

  • 6ปี ราคาอยู่ที่ 1,485 บาท

  • 7ปี ราคาอยู่ที่ 1,320 บาท

  • 8ปี ราคาอยู่ที่ 1,155 บาท

  • 9ปี ราคาอยู่ที่ 990 บาท

  • 10ปี ราคาอยู่ที่ 825 บาท 

รถ 4 ประตู ขนาดเครื่องยนต์ 1,900 cc

สำหรับรถที่มีขนาดเครื่องยนต์ 1,900 cc ขึ้นไป จะเสียค่าภาษีรถยนต์อยู่ที่ 2,500 ต่อปี เมื่อรถมีอายุเกิน 6 ปีขึ้นไป จะมีการจ่ายอัตราภาษีดังนี้

  • 6ปี ราคาอยู่ที่ 2,250 บาท

  • 7ปี ราคาอยู่ที่ 2,000 บาท

  • 8ปี ราคาอยู่ที่ 1,750 บาท

  • 9ปี ราคาอยู่ที่ 1,500 บาท

  • 10ปี ราคาอยู่ที่ 1,250 บาท 

รถ 4 ประตู ขนาดเครื่องยนต์ 2,000 cc 

สำหรับรถที่มีขนาดเครื่องยนต์เกิน 2,000 cc ขึ้นไป จะต้องเสียภาษีรถยนต์อยู่ที่ 2,900 บาทต่อปี และเมื่อรถมีอายุเกิน 6 ปีขึ้นไป จะมีอัตราการเสียภาษีรถยนต์ ดังนี้

  • 6ปี ราคาอยู่ที่ 2,610 บาท

  • 7ปี ราคาอยู่ที่ 2,320 บาท

  • 8ปี ราคาอยู่ที่ 2,030 บาท

  • 9ปี ราคาอยู่ที่ 1,740 บาท

  • 10ปี ราคาอยู่ที่ 1,450 บาท 

รถ 4 ประตู ขนาดเครื่องยนต์ 3,000 cc 

ลำดับสุดท้ายคือ รถ 4 ประตู ที่มีขนาดเครื่องยนต์เกิน 3,000 cc ขึ้นไป จะมีอัตราการเสียภาษีต่อปีอยู่ที่ 6,900 บาท และเมื่อเข้าสู่ปีที่ 6 จะปรับลดลงดังนี้

  • 6 ปี ราคาอยู่ที่ 6,210 บาท

  • 7 ปี ราคาอยู่ที่ 5,520 บาท

  • 8ปี ราคาอยู่ที่ 4,830 บาท

  • 9 ปี ราคาอยู่ที่ 4,140 บาท

  • 10 ปี ราคาอยู่ที่ 3,450 บาท

หมายเหตุ : ทั้งนี้หากเป็นรถยนต์ส่วนบุคคลที่ไม่เกิน 7 ที่นั่ง เช่น รถเก๋ง รถกระบะ จะมีการคิดอัตราภาษีรถตามขนาดของเครื่องยนต์ โดยเริ่มต้นที่ซีซีละ 50 สตางค์ ไปจนถึงซีซีละ 4 บาท ส่วนรถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง จะถูกคิดอัตราภาษีตามน้ำหนักของรถแทน

เช็คภาษีรถยนต์ไฟฟ้า ปี 2567

ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ประกาศให้มีการลดภาษีรถยนต์ไฟฟ้าลง 80% ของอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ เป็นเวลา 1 ปี นับตั้งแต่วันที่จดทะเบียนรถ ซึ่งภาษีรถยนต์ไฟฟ้าที่ทาง ครม. ประกาศปรับลดลงแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

  1. ภาษีรถยนต์ไฟฟ้านั่งส่วนบุคคล ไม่เกิน 7 ที่นั่ง (ที่จดทะเบียนตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 65 - 30 ก.ย. 68)

  • รถมีน้ำหนักไม่เกิน 500 กิโลกรัม จะต้องเสียภาษีอยู่ที่ 30 บาท

  • รถมีน้ำหนัก 501-750 กิโลกรัม จะต้องเสียภาษีอยู่ที่ 60 บาท

  • รถมีน้ำหนัก 751-1,000 กิโลกรัม จะต้องเสียภาษีอยู่ที่ 90 บาท

  • รถมีน้ำหนัก 1,001-1,250 กิโลกรัม จะต้องเสียภาษีอยู่ที่ 160 บาท

  • รถมีน้ำหนัก 1,251-1,500 กิโลกรัม จะต้องเสียภาษีอยู่ที่ 200 บาท

  • รถมีน้ำหนัก 1,501- 1,750 กิโลกรัม จะต้องเสียภาษีอยู่ที่ 260 บาท

  • รถมีน้ำหนัก 1,751-2,000 กิโลกรัม จะต้องเสียภาษีอยู่ที่ 330 บาท

  • รถมีน้ำหนัก 2,001-2,500 กิโลกรัม จะต้อเสียภาษีอยู่ที่ 380 บาท

  • รถมีน้ำหนัก 2,501-3,000 กิโลกรัม จะต้องเสียภาษีอยู่ที่ 440 บาท

  • รถมีน้ำหนัก3,001-3,500 กิโลกรัม จะต้องเสียภาษีอยู่ที่ 480 บาท

  • รถมีน้ำหนัก 3,501-4,000 กิโลกรัม จะต้องเสียภาษีอยู่ที่ 520 บาท

  • รถมีน้ำหนัก 4,001-4,500 กิโลกรัม จะต้องเสียภาษีอยู่ที่ 560 บาท

  • รถมีน้ำหนัก 4,501-5,000 กิโลกรัม จะต้องเสียภาษีอยู่ที่ 600 บาท

  • รถมีน้ำหนัก 5,001-6,000 กิโลกรัม จะต้องเสียภาษีอยู่ที่ 640 บาท

  • รถมีน้ำหนัก 6,001-7,000 กิโลกรัม จะต้องเสียภาษีอยู่ที่ 680 บาท

  • รถมีน้ำหนักมากกว่า 7,001 ขึ้นไป จะต้องเสียภาษีอยู่ที่ 720 บาท

ภาษีรถยนต์ไฟฟ้านั่งส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง (ที่จดทะเบียนตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 65 - 30 ก.ย. 68)

  • รถมีน้ำหนักไม่เกิน 500 กิโลกรัม จะต้องเสียภาษีอยู่ที่ 15 บาท

  • รถมีน้ำหนัก501-750 กิโลกรัม จะต้องเสียภาษีอยู่ที่ 30 บาท

  • รถมีน้ำหนัก751-1,000 กิโลกรัม จะต้องเสียภาษีอยู่ที่ 45 บาท

  • รถมีน้ำหนัก1,001-1,250 กิโลกรัม จะต้องเสียภาษีอยู่ที่ 80 บาท

  • รถมีน้ำหนัก 1,251-1,500 กิโลกรัม จะต้องเสียภาษีอยู่ที่ 100 บาท

  • รถมีน้ำหนัก1,501- 1,750 กิโลกรัม จะต้องเสียภาษีอยู่ที่ 130 บาท

  • รถมีน้ำหนัก 1,751-2,000 กิโลกรัม จะต้องเสียภาษีอยู่ที่ 160 บาท

  • รถมีน้ำหนัก 2,001-2,500 กิโลกรัม จะต้อเสียภาษีอยู่ที่ 190 บาท

  • รถมีน้ำหนัก 2,501-3,000 กิโลกรัม จะต้องเสียภาษีอยู่ที่ 220 บาท

  • รถมีน้ำหนัก 3,001-3,500 กิโลกรัม จะต้องเสียภาษีอยู่ที่ 240 บาท

  • รถมีน้ำหนัก 3,501-4,000 กิโลกรัม จะต้องเสียภาษีอยู่ที่ 260 บาท

  • รถมีน้ำหนัก 4,001-4,500 กิโลกรัม จะต้องเสียภาษีอยู่ที่ 280 บาท

  • รถมีน้ำหนัก 4,501-5,000 กิโลกรัม จะต้องเสียภาษีอยู่ที่ 300 บาท

  • รถมีน้ำหนัก 5,001-6,000 กิโลกรัม จะต้องเสียภาษีอยู่ที่ 320 บาท

  • รถมีน้ำหนัก 6,001-7,000 กิโลกรัม จะต้องเสียภาษีอยู่ที่ 340 บาท

  • รถมีน้ำหนักมากกว่า 7,001 ขึ้นไป จะต้องเสียภาษีอยู่ที่ 360 บาท

ภาษีรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า (ที่จดทะเบียนตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 65 - 30 ก.ย. 68)

  • รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล จะเสียภาษีอยู่ที่ 10 บาท

  • รถจักรยานยนต์สาธารณะ จะเสียภาษีอยู่ที่ 10 บาท

ทั้งนี้จุดประสงค์ที่ทาง ครม. ประกาศให้มีการลดภาษีรถยนต์ไฟฟ้าลง ก็เพื่อช่วยส่งเสริมให้ผู้ขับขี่หันมาใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้ากันมากขึ้น เพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ซึ่งหากภาครัฐไม่มีการขยายมาตรการลดภาษีรถยนต์ไฟฟ้าออกไป คนที่ครอบครองรถยนต์ไฟฟ้าจะต้องเสียภาษีต่อปีเป็นจำนวนเท่าไร มาดูกัน

ภาษีรถยนต์ไฟฟ้าปี 2567 (หลังจากวันที่ 30 ก.ย. 68)

ภาษีรถยนต์ไฟฟ้าส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง

  • รถมีน้ำหนักไม่เกิน 500 กิโลกรัม จะต้องเสียภาษีอยู่ที่ 150 บาท

  • รถมีน้ำหนัก 501-750 กิโลกรัม จะต้องเสียภาษีอยู่ที่ 300 บาท

  • รถมีน้ำหนัก 751-1,000 กิโลกรัม จะต้องเสียภาษีอยู่ที่ 450 บาท

  • รถมีน้ำหนัก 1,001-1,250 กิโลกรัม จะต้องเสียภาษีอยู่ที่ 800 บาท

  • รถมีน้ำหนัก 1,251-1,500 กิโลกรัม จะต้องเสียภาษีอยู่ที่ 1,000 บาท

  • รถมีน้ำหนัก 1,501- 1,750 กิโลกรัม จะต้องเสียภาษีอยู่ที่ 1,300 บาท

  • รถมีน้ำหนัก 1,751-2,000 กิโลกรัม จะต้องเสียภาษีอยู่ที่ 1,600 บาท

  • รถมีน้ำหนัก 2,001-2,500 กิโลกรัม จะต้อเสียภาษีอยู่ที่ 1,900 บาท

  • รถมีน้ำหนัก 2,501-3,000 กิโลกรัม จะต้องเสียภาษีอยู่ที่ 2,200 บาท

  • รถมีน้ำหนัก 3,001-3,500 กิโลกรัม จะต้องเสียภาษีอยู่ที่ 2,400 บาท

  • รถมีน้ำหนัก 3,501-4,000 กิโลกรัม จะต้องเสียภาษีอยู่ที่ 2,600 บาท

  • รถมีน้ำหนัก 4,001-4,500 กิโลกรัม จะต้องเสียภาษีอยู่ที่ 2,800 บาท

  • รถมีน้ำหนัก 4,501-5,000 กิโลกรัม จะต้องเสียภาษีอยู่ที่ 3,000 บาท

  • รถมีน้ำหนัก 5,001-6,000 กิโลกรัม จะต้องเสียภาษีอยู่ที่ 3,200 บาท

  • รถมีน้ำหนัก 6,001-7,000 กิโลกรัม จะต้องเสียภาษีอยู่ที่ 3,400 บาท

  • รถมีน้ำหนักมากกว่า 7,001 ขึ้นไป จะต้องเสียภาษีอยู่ที่ 3,600 บาท

ภาษีรถยนต์ไฟฟ้าส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง

  • รถมีน้ำหนักไม่เกิน 500 กิโลกรัม จะต้องเสียภาษีอยู่ที่ 75 บาท

  • รถมีน้ำหนัก 501-750 กิโลกรัม จะต้องเสียภาษีอยู่ที่ 150 บาท

  • รถมีน้ำหนัก 751-1,000 กิโลกรัม จะต้องเสียภาษีอยู่ที่ 225 บาท

  • รถมีน้ำหนัก 1,001-1,250 กิโลกรัม จะต้องเสียภาษีอยู่ที่ 400 บาท

  • รถมีน้ำหนัก 1,251-1,500 กิโลกรัม จะต้องเสียภาษีอยู่ที่ 500 บาท

  • รถมีน้ำหนัก 1,501- 1,750 กิโลกรัม จะต้องเสียภาษีอยู่ที่ 650 บาท

  • รถมีน้ำหนัก 1,751-2,000 กิโลกรัม จะต้องเสียภาษีอยู่ที่ 800 บาท

  • รถมีน้ำหนัก 2,001-2,500 กิโลกรัม จะต้อเสียภาษีอยู่ที่ 950 บาท

  • รถมีน้ำหนัก 2,501-3,000 กิโลกรัม จะต้องเสียภาษีอยู่ที่ 1,100 บาท

  • รถมีน้ำหนัก 3,001-3,500 กิโลกรัม จะต้องเสียภาษีอยู่ที่ 1,200 บาท

  • รถมีน้ำหนัก 3,501-4,000 กิโลกรัม จะต้องเสียภาษีอยู่ที่ 1,300 บาท

  • รถมีน้ำหนัก 4,001-4,500 กิโลกรัม จะต้องเสียภาษีอยู่ที่ 1,400 บาท

  • รถมีน้ำหนัก 4,501-5,000 กิโลกรัม จะต้องเสียภาษีอยู่ที่ 1,500 บาท

  • รถมีน้ำหนัก 5,001-6,000 กิโลกรัม จะต้องเสียภาษีอยู่ที่ 1,600 บาท

  • รถมีน้ำหนัก 6,001-7,000 กิโลกรัม จะต้องเสียภาษีอยู่ที่ 1,700 บาท

  • รถมีน้ำหนักมากกว่า 7,001 ขึ้นไป จะต้องเสียภาษีอยู่ที่ 1,800 บาท

ภาษีรถยนต์จักรยานยนต์ไฟฟ้า

ในส่วนของภาษีรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า หากภาครัฐขยายอัตราการลดภาษีของรถยนต์ไฟฟ้าและหมดช่วงเวลาหลังจากวันที่ 30 กันยายน 2568 ไป ภาษีรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าทั้งประเภทส่วนบุคคลและสาธารณะจะต้องเสียค่าภาษีอยู่ที่ 50 บาท

เห็นได้ชัดว่าอัตราภาษีรถยนต์ไฟฟ้านั้นถูกกว่ารถยนต์ประเภทสันดาปหรือรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเป็นหลักนั่นเอง 

ต่อภาษีรถยนต์ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

  1. คู่มือจดทะเบียนรถหรือสำเนาทะเบียนรถ

  2. หนังสือรับรองการตรวจสภาพรถยนต์ (ตรอ.) ในกรณีที่รถยนต์เข้าเกณฑ์ต้องตรวจสภาพ

  3. ส่วนท้ายของ พ.ร.บ. รถยนต์ ที่ยังไม่หมดอายุ

หลังจากเช็คภาษีรถยนต์ทั่วไปและภาษีรถยนต์ไฟฟ้าประจำปี 2567 ที่เรารวบรวมมาให้และทำความเข้าใจอัตราภาษีรถของแต่ละประเภทแล้ว ก็อย่าลืมไปต่อภาษีรถกันให้เรียบร้อย เพราะหากปล่อยให้ภาษีรถยนต์ขาดและนำรถไปขับขี่บนท้องถนน หากโดนเจ้าหน้าเรียกตรวจขึ้นมาอาจโดนค่าปรับและต้องเสียเวลาไปกรมการขนส่งทางบกเพื่อจ่ายภาษีด้วย ทางที่ดีควรตรวจสอบภาษีรถยนต์ของตนเองก่อนถึงวันครบกำหนดจ่ายภาษี และเพื่อให้สามารถใช้รถได้อย่างสบายใจไร้กังวล

ใครที่กำลังมองหาพรบรถยนต์ที่คุ้มค่าบนช่องทางออนไลน์ง่ายๆ เพียงไม่กี่ขั้นตอน พร้อมรับรับสิทธิการคุ้มครองทันที รวมถึงแผนประกันรถยนต์ที่มีคุณภาพ บริการรวดเร็วทันใจ ขอแนะนำประกันภัยรถยนต์ จากวิริยะประกันภัย หลากหลายประกันภัยที่สามารถคุ้มครองรถยนต์ของคุณได้ไม่ว่าจะเป็น ประกันชั้น 1 ที่ดูแลครบ จบทุกความต้องการหรือ ประกันรถยนต์ 2+ ซื้อง่ายคุ้มครองเร็ว หรือประกันรถยนต์ 3+ ประกันคุ้มจบในที่เดียว ที่วิริยะประกันภัยเรามีครบจบที่เดียวสามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.viriyah.com หรือ โทร.สอบถามได้ที่เบอร์ 0-2129-7474  

อ่านบทความอื่นๆ