ซื้อรถติดไฟแนนซ์ ควรทำประกันรถหรือไม่?

ซื้อรถติดไฟแนนซ์  ควรทำประกันรถหรือไม่?
ซื้อรถติดไฟแนนซ์  ควรทำประกันรถหรือไม่?

การที่เราซื้อรถติดไฟแนนซ์ ย่อมหมายถึงรถยนต์คันนั้นๆ ยังไม่ได้เป็นของเราโดยสมบูรณ์ เพราะจะต้องผ่อนจ่ายค่างวดรถยนต์ในทุกๆ เดือนให้กับสถาบันการเงิน หลายคนจึงเกิดคำถามว่า แล้วเราจำเป็นต้องทำประกันรถไหม? ซึ่งหากคุณเป็นอีกหนึ่งคนที่สงสัยในข้อนี้ เราได้รวบรวมรายละเอียดของการซื้อรถติดไฟแนนซ์และการทำประกันรถมาฝาก ติดตามพร้อมกันในบทความนี้

รถติดไฟแนนซ์ คืออะไร?

รถติดไฟแนนซ์ คือ การขอสินเชื่อจากธนาคารหรือการขอให้ธนาคารออกเงินให้ก่อนเพื่อซื้อรถยนต์ ในกรณีที่คุณมีเงินก้อนไม่พอจ่ายค่ารถในครั้งเดียว โดยธนาคารหรือสถาบันการเงินเจ้าของสินเชื่อจะเป็นผู้จ่ายเงินก้อนให้กับบริษัทรถยนต์แทนคุณ และให้คุณผ่อนชำระค่างวดคืนให้กับธนาคารทีหลังจนครบตามกำหนด

 

รถติดไฟแนนซ์ ควรทำประกันรถหรือไม่?

คำตอบ คือ ควรทำประกันรถ เนื่องจากเราคือผู้ครอบครองรถ หากเกิดอุบัติเหตุขึ้นคนที่ต้องรับผิดชอบค่าเสียหายและค่ารักษาพยาบาลต่างๆ คือเรา ไม่ใช่บริษัทไฟแนนซ์ที่เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รถ ซึ่งปกติแล้วหากซื้อรถติดไฟแนนซ์ ทางบริษัทไฟแนนซ์จะมีเงื่อนไขให้เจ้าของรถทำประกันรถด้วยอย่างน้อย 1 ปี เมื่อครบกำหนดเราสามารถเลือกได้ว่าจะต่อประกันรถยนต์หรือไม่ต่อก็ได้ เพราะประกันรถยนต์เป็นแบบภาคสมัครใจ ตามกฎหมายจึงไม่ได้บังคับให้ทำนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม การทำประกันรถเอาไว้นอกจากจะเสริมความคุ้มครองให้กับรถของเราแล้ว ยังช่วยสร้างความอุ่นใจให้กับผู้ขับขี่ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ ประกันรถยนต์ที่ทำเอาไว้จะช่วยให้คุณไม่ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่างๆ ทั้งของตัวเราและคู่กรณี รวมถึงยังสามารถขอเคลมประกันรถเพื่อซ่อมรถของเรา และช่วยป้องกันในกรณีที่อาจเกิดเหตุรถติดไฟแนนซ์ถูกขโมยหรือสูญหาย (ในกรณีนี้หากรถติดไฟแนนซ์ทำประกันรถชั้น 1 หรือประกันรถ 2+ อยู่) ทางเจ้าหน้าที่จะพิจารณาว่าเราผ่อนไฟแนนซ์ไปแล้วกี่งวด เป็นจำนวนเงินเท่าไร และจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้กับบริษัทไฟแนนซ์ตามวงเงินประกันรถยนต์ที่ทำเอาไว้ ดังนั้น จึงควรทำประกันรถอย่างยิ่งไม่ว่าเราจะขับรถติดไฟแนนซ์ หรือไม่ติดไฟแนนซ์ก็ตาม

ซื้อรถติดไฟแนนซ์ ต้องทำประกันรถชั้น 1 กี่ปี?

เนื่องจากเรายังไม่ได้เป็นเจ้าของรถยนต์โดยสมบูรณ์ แต่จะอยู่ในสถานะครอบครองเพียงเท่านั้น ตามกฎหมายระบุเอาไว้ว่า “บุคคลใดที่เป็นผู้ครอบครองรถ จะต้องรับผิดชอบค่าเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมด” (ในกรณีที่ไม่มีประกันรถยนต์) ดังนั้นจึงเป็นที่มาว่า ทำไมบริษัทไฟแนนซ์หรือธนาคารต้องบังคับให้เราทำประกันรถอย่างน้อย 1 ปี และเมื่อครบกำหนด 1 ปี ถึงจะสามารถเลือกได้อย่างอิสระว่าจะต่อประกันรถกับเจ้าเดิม หรือหาบริษัทประกันภัยเจ้าใหม่ เพื่อทำประกันรถในแผนประกันรถที่ตนเองเลือกได้

 

รถติดไฟแนนซ์ ต่อประกันรถเองได้ไหม?

รถติดไฟแนนซ์สามารถที่จะต่อประกันรถเองได้ เนื่องจากประกันรถยนต์ชั้น 1, ชั้น 2+ และชั้น 3+ เป็นประกันภาคสมัครใจที่ไม่ได้มีข้อบังคับว่าต้องทำประกันรถเอาไว้ตลอด หมายความว่าเราสามารถเลือกซื้อประกันรถยนต์ได้เองตามความสมัครใจ หากรู้สึกว่าตอนที่ทำประกันรถกับบริษัทไฟแนนซ์ใช้ไม่คุ้มหรือไม่ชอบบริการ เราสามารถเลือกทำประกันรถกับเจ้าอื่นได้ เพียงนำเอกสารและเล่มประกันไปติดต่อกับบริษัทประกันภัยด้วยตนเอง หรือโทรสอบถามบริษัทประกันโดยตรงก็ได้เช่นกัน หรือหากต้องการต่อประกันรถยนต์กับบริษัทประกันภัยเดิม ก็สามารถเลือกทำประกันรถชั้นอื่นๆ เพื่อจ่ายเบี้ยประกันถูกลง ทั้งนี้หากเป็นคนขับรถดีมาตลอด ไม่มีประวัติการชนหรือเคลม จะได้รับส่วนลดจากบริษัทประกันรถที่ทำอยู่ ซึ่งจะช่วยประหยัดค่าเบี้ยประกันรถไปได้เยอะทีเดียว

 

จะเห็นได้ว่า ถึงแม้บริษัทไฟแนนซ์จะไม่ได้บังคับให้เราทำประกันรถกับบริษัทฯ แต่เราก็ควรทำประกันรถติดเอาไว้ เพราะอุบัติเหตุสามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ ทุกเวลา หากไม่มีประกันรถยนต์ที่ให้ความคุ้มครองต่อเนื่อง นอกจากเราจะเสียเวลากับการดำเนินการต่างๆ แล้ว ยังจะต้องแบกรับค่าใช้จ่ายจิปาถะที่เกิดขึ้นเองด้วย ไม่เพียงแค่รถติดไฟแนนซ์เท่านั้น รถยนต์ทั่วไปหากไม่มีประกันรถ เจ้าของรถก็ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่นเดียวกัน ดังนั้นการทำประกันรถติดเอาไว้จึงเป็นตัวช่วยที่ทำให้เราสามารถขับขี่ได้อย่างอุ่นใจและสบายใจเมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝัน

ใครที่กำลังมองหาประกันรถยนต์ที่มีคุณภาพ บริการรวดเร็วทันใจ เป็นธรรมอยู่ เราขอแนะนำประกันภัยรถยนต์ จากวิริยะประกันภัย หลากหลายประกันภัยที่สามารถคุ้มครองรถยนต์ของคุณได้ไม่ว่าจะเป็น ประกันชั้น 1 ที่ดูแลครบ จบทุกความต้องการหรือ ประกันรถยนต์ 2+ ซื้อง่ายคุ้มครองเร็ว หรือประกันรถยนต์ 3+ ประกันคุ้มจบในที่เดียว และใครที่กำลังมองหาการต่อพรบรถยนต์ที่คุ้มค่า ที่วิริยะประกันภัยเรามีครบจบที่เดียวสามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.viriyah.com หรือ โทร.สอบถามได้ที่เบอร์ 0-2129-7474

อ่านบทความอื่นๆ