รู้หรือไม่ รถยนต์ 1 คัน ต้องทำอะไรบ้าง?
มือใหม่หัดขับและมือเก่าที่ขับนานแล้วทราบกันหรือไม่ว่า
รถแต่ละคันถ้าจะขับแบบถูกกฎหมายและปลอดภัย ควรมีอะไรบ้าง?
วันนี้วิริยะประกันภัยจะพาไปดูว่าการมีรถ 1 คันจะต้องมีอะไรบ้าง ถึงจะอุ่นใจตลอดการเดินทาง
1. ประกันภาคบังคับ (พ.ร.บ.)
? พ.ร.บ. คุ้มครองคน ไม่คุ้มครองรถ
? เมื่อเกิดเหตุหากมีคนเจ็บ หรือเสียชีวิต ต้องเบิกจาก พ.ร.บ. ก่อนทุกครั้ง
? หากวงเงินไม่พอจึงจะไปเบิกจากภาคสมัครใจ
? หากไม่มี พ.ร.บ. ต่อภาษีประจำปีไม่ได้
? รถไม่มี พ.ร.บ. โทษปรับ 20,000 บาท
? ปรับคนขับ 10,000 บาท
? ปรับเจ้าของรถ 10,000 บาท
ในกรณีขาดการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ จะไม่ต้องเสียค่าปรับในการต่อ พ.ร.บ. ใหม่อีกครั้ง แต่จะส่งผลให้มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจเรียกตรวจแล้วเจ้าของรถไม่มีหลักฐานแสดงหรือขาดต่อ พ.ร.บ. ก็จำเป็นที่จะต้องเสียค่าปรับตามกฎหมายนั่นเอง และหลังจากที่เสียค่าปรับแล้วนั้นหากรถคันไหนไม่ได้ทำการต่อ พ.ร.บ. ก็จะไม่สามารถเสียภาษีหรือต่อทะเบียนรถยนต์ได้อีกด้วย และเมื่อไม่ได้เสียภาษีรถยนต์หรือปล่อยไว้นานจนทะเบียนรถขาด เจ้าของรถจะต้องเสียค่าปรับร้อยละ 1 ต่อเดือนอีกด้วย
2. ต่อภาษี (ป้ายสี่เหลี่ยม)
? เป็นการเสียภาษีประจำปีตามกฎหมาย
? รถยนต์เกิน 7 ปี ต้องตรวจสภาพที่ ตรอ.
? มอเตอร์ไซค์เกิน 5 ปี ต้องตรวจสภาพที่ ตรอ.
? โทษปรับไม่ต่อภาษี 400 - 1,000 บาท
? ไม่ต่อภาษีเกิน 3 ปี ถูกระงับทะเบียน และจะต้องนำรถไปตรวจใหม่ที่ขนส่งเท่านั้น
ขั้นตอนการต่อภาษี
1. ตรวจสภาพรถยนต์
หากรถยนต์ที่ใช้มีอายุเกิน 7 ปีขึ้นไป จะต้องทำการตรวจสภาพรถยนต์ที่สถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) แล้วนำใบตรวจสภาพรถยนต์มาใช้ในการต่อภาษีรถยนต์อีกครั้ง
2. ต่อ พ.ร.บ. หรือ ทะเบียน รถยนต์
ก่อนต่อภาษีรถยนต์ ต้องอย่าลืมต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ เพราะจะได้นำเอกสารแนบท้ายหรือส่วนหางของ พ.ร.บ. รถยนต์ มาใช้ในการต่อทะเบียนหรือต่อภาษีรถยนต์นั่นเอง
3. ขอเอกสารรับรองการติดแก๊ส (ในกรณีที่รถมีการติดแก๊ส )
ไม่ว่าจะเป็นแก๊ส NGV หรือ LPG ต้องขอเอกสารรับรองการติดตั้งแก๊สจากสถานที่ติดตั้งแก๊สไว้ด้วย เพราะถือว่ารถยนต์ดังกล่าวมีการดัดแปลง ต้องแจ้งการติดตั้งกับกรมขนส่งทางบก
4. เตรียมเอกสารการต่อภาษีรถยนต์ ก่อนยื่นให้สถานที่รับต่อภาษี
? เล่มทะเบียนรถยนต์ หรือ สำเนารายการจดทะเบียนรถยนต์
? พ.ร.บ. รถยนต์
? ใบรับรองการตรวจสภาพรถยนต์ (สำหรับรถยนต์ที่มีอายุเกิน 7 ปี)
? เอกสารรับรองการติดตั้งแก๊ส (สำหรับรถยนต์ที่ติดตั้งแก๊ส NGV หรือ LPG)
5. ชำระภาษีรถยนต์ตามสถานที่ดังนี้
? สำนักงานขนส่งทางบก
? ที่ทำการไปรษณีย์
? เคาน์เตอร์เซอร์วิส
? ร้านค้าหรือห้างสรรพสินค้าที่รับต่อภาษีรถยนต์
? ต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ ได้ที่ https://eservice.dlt.go.th
3. ประกันภาคสมัครใจ (ความคุ้มครองตามประเภทการรับประกัน)
? มีความคุ้มครองให้เลือกหลากหลายตามประเภทการใช้งาน
? คุ้มครองค่าซ่อมรถและทรัพย์สินของคู่กรณี
? คุ้มครองรถตัวเองตามประเภทที่ซื้อ
? คุ้มครองค่ารักษาส่วนที่เกินจาก พ.ร.บ.
? คุ้มครองกรณีเสียชีวิต ค่ารักษาพยาบาล และประกันตัวผู้ขับขี่
ดังนั้นการมีทั้ง 3 อย่างนี้ให้กับรถของคุณที่ใช้ขับขี่อยู่ทุกวันๆ จะทำให้การเดินทางของคุณทุกครั้งมีความอุ่นใจและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น เพราะนอกจากจะถูกต้องตามกฎหมายแล้วยังช่วยคุ้มครองทั้งตัวคุณและรถที่คุณรักอีกด้วย
ใครที่กำลังมองหาประกันรถยนต์หรือต้องการทำประกันรถยนต์ ที่สามารถคุ้มครองรถติดแก๊สได้ครอบคลุมและรวดเร็ว เราขอแนะนำประกันรถยนต์จากวิริยะประกันภัย ทำประกันภัยรถยนต์ก็เป็นสิ่งสำคัญในการคุ้มครองรถยนต์ของคุณได้ไม่ว่าจะเป็น ประกันชั้น 1 ที่ดูแลครบ จบทุกความต้องการหรือ ประกันรถยนต์ 2+ ซื้อง่ายคุ้มครองเร็ว หรือประกันรถยนต์ 3+ ประกันคุ้มจบในที่เดียว และใครที่กำลังมองหาการต่อพรบรถยนต์ที่คุ้มค่า ที่วิริยะประกันภัยเรามีครบจบที่เดียวสามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.viriyah.com หรือโทรสอบถามข้อมูลได้ที่ 0-2129-7474