ป้องกันไว้ก่อนสาย! พรบ.รถ ขาดต้องทำอย่างไร?

ป้องกันไว้ก่อนสาย! พรบ.รถ ขาดต้องทำอย่างไร?
ป้องกันไว้ก่อนสาย! พรบ.รถ ขาดต้องทำอย่างไร?

ผู้ใช้รถทุกคนจะทราบกันดีว่า พรบรถยนต์ เป็นสิ่งที่ต้องมีติดรถเอาไว้ทุกคน เพราะเป็นสิ่งที่ใช้คุ้มครองผู้ขับขี่หากเกิดอุบัติเหตุขึ้นบนท้องถนน ทั้งคุ้มครองผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร คู่กรณีหรือผู้คนรอบข้างที่ได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุ แต่ก็มีผู้ใช้รถหลายคนที่มักจะหลงลืม หรือปล่อยปละละเลยให้ พรบ รถ ขาด วันนี้เราจะพาไปดูว่าหากปล่อยให้ พรบ รถ ขาด และขับขี่ไปบนท้องถนน จะต้องรับความเสี่ยงอะไรบ้าง รวมถึง พรบรถยนต์ นั้นขาดได้ไม่เกินกี่วัน กี่ปี และมีค่าปรับเท่าไร
 


 

พรบ รถ ขาด มีค่าปรับเท่าไร

การปล่อยให้ พรบ รถ ขาด อาจทำให้คุณโดนค่าปรับและเป็นการทำผิดกฎหมายได้ ไม่ว่าจะเป็น พรบรถยนต์ หรือ พรบ.รถจักรยานยนต์ก็ตาม โดยคุณอาจโดนโทษปรับตามกฎหมายจราจรทางบก คือ ปรับสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท ซึ่งนอกจากจะต้องเสียค่าปรับแล้ว หากเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนทั้งๆ ที่ พรบรถขาดอยู่ คุณอาจจะไม่ได้รับความคุ้มครองใดๆ จาก พรบรถยนต์ อีกด้วย 

 

พรบ รถ ขาดได้กี่วัน กี่ปี

สำหรับการต่อ พรบ รถยนต์ สามารถต่อได้ล่วงหน้าสูงสุด 3 เดือน หรือ 90 วัน ก่อนที่ พรบรถยนต์ จะหมดอายุ และเนื่องจากเป็นประกันภัยภาคบังคับจึงไม่สามารถปล่อยให้ขาดหรือหมดอายุแม้แต่วันเดียว ซึ่งหากใครที่ลืมไปต่อ หรือ ปล่อยให้ พรบรถยนต์ขาดไปแล้ว และมีคำถามว่าต้องทำอย่างไร เรามีคำตอบมาฝากดังนี้
1.พรบ รถ ขาด ไม่เกิน 1 ปี
หากเป็นกรณีที่ พรบ รถ ขาด ไม่เกิน 1 ปี สามารถที่จะทำเรื่องเพื่อต่อภาษีรถยนต์ได้เลย โดยที่ไม่เสียค่าปรับใดๆ เพิ่มเติม แต่อาจจะโดนปรับในส่วนของภาษีรถยนต์แทนนั่นเอง
2.พรบ รถ ขาด เกิน 2 ปีขึ้นไป
ในกรณีที่ พรบ รถ ขาด เกิน 2 ปีขึ้นไป ผู้ใช้รถจำเป็นต้องตรวจสภาพรถยนต์ของตนเอง พร้อมดำเนินการเรื่องต่อ พรบ รถยนต์ ด้วยตนเอง เพื่อทำการต่อทะเบียนรถและเสียค่าปรับ ซึ่งต้องใช้เอกสารดังต่อไปนี้

  • ทะเบียนบ้านเจ้าของรถ
  • สมุดทะเบียนรถ
  • สำเนาบัตรประชาชนเจ้าของรถ 
    หลังจากทำการยื่นเอกสารที่กรมการขนส่งทางบกแล้ว คุณอาจจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในส่วนของ ค่าจดทะเบียน ต่อภาษี และยังรวมไปถึงค่าตรวจสภาพรถอีกด้วย

 

3.พรบ รถ ขาด เกิน 3 ปีขึ้นไป
ในกรณีที่ปล่อยให้ พรบ รถ ขาดนานเกิน 3 ปีขึ้นไป มีโอกาสเสี่ยงที่จะถูกระงับป้ายทะเบียนรถ ซึ่งหากถูกระงับการใช้ป้ายทะเบียนรถไป ต้องไปจดทะเบียนใหม่พร้อมกับเสียค่าปรับ รวมถึงอาจมีการเก็บภาษีรถยนต์ย้อนหลังอีกด้วย สำหรับเอกสารที่ต้องใช้มีดังนี้

  • ทะเบียนบ้านเจ้าของรถ
  • สมุดทะเบียนรถ
  • สำเนาบัตรประชาชนเจ้าของรถ

ทั้งนี้ทางกรมการขนส่งทางบกอาจมีการขอเอกสารเพิ่มเติมในวันที่ไปดำเนินการก็เป็นได้ หากมีเอกสารสำคัญที่เกี่ยวข้องกับรถ แนะนำว่าควรนำไปด้วยจะดีที่สุด
 


 

ขับรถยนต์ พรบ รถ ขาด เสี่ยงอะไรบ้าง

หากขับขี่รถยนต์ที่ พรบรถยนต์ ขาด ไปบนท้องถนนและเกิดอุบัติเหตุขึ้น นี่คือความเสี่ยงที่ผู้ใช้รถต้องรับมือ

  1. หากขับขี่รถยนต์ที่พรบ รถ ขาด แล้วเกิดอุบัติเหตุขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการชนสิ่งของหรือขับรถชนคน จะไม่ได้รับความคุ้มครอง

  2. หาก พรบ รถ ขาด แต่โดนรถยนต์คันอื่นขับมาชนจนได้รับบาดเจ็บ จะไม่ได้รับความคุ้มครอง แต่สามารถที่จะเรียกค่าเสียหายจากคู่กรณีที่เป็นฝ่ายผิดได้ แต่ต้องรอบริษัทประกันภัยพิจารณาก่อน ซึ่งแน่นอนว่าระหว่างนั้นคุณอาจจะต้องสำรองเงินในการจ่ายค่าซ่อมรถและค่ารักษาพยาบาลตัวเองไปก่อน

  3. ในกรณีที่คุณขับรถ พรบรถยนต์ ขาด ไปชนรถคันอื่น คู่กรณีจะไปร้องเรียนกับกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย แล้วทางกองทุนฯ จะมาไล่เบี้ยกับคุณเพื่อให้รับผิดชอบคู่กรณีเอง พร้อมทั้งมีการปรับเป็นจำนวนเงิน 10,000 บาท

  4. การฝ่าฝืนขับขี่รถยนต์ที่ พรบรถ ขาด หรือไม่ต่อ พรบรถยนต์ จะมีโทษปรับตามกฎหมายสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท

  5. หากไม่มี พรบรถยนต์ จะไม่สามารถทำการต่อภาษีรถยนต์ได้ ซึ่งหากเจ้าหน้าที่ตรวจพบว่ารถของคุณขาดการต่อภาษี อาจโดนโทษปรับ 400 - 1,000 บาท อีกด้วย

ขั้นตอนการต่อ พรบ รถยนต์ กับวิริยะประกันภัยผ่านช่องทางออนไลน์

  1. เข้าไปที่ www.viriyah.com และเลือกช่อง พรบ รถยนต์

  2. ทำการกรอกข้อมูล ผู้สั่งซื้อและผู้เอาประกัน

  3. กรอกข้อมูลรถยนต์ให้ครบถ้วน

  4. ทำการชำระเงิน รอ 5 นาที คุณก็จะได้รับกรมธรรม์

ใครที่กำลังมองหาพรบรถยนต์ที่คุ้มค่าบนช่องทางออนไลน์ง่ายๆ เพียงไม่กี่ขั้นตอน พร้อมรับรับสิทธิการคุ้มครองทันที รวมถึงแผนประกันรถยนต์ที่มีคุณภาพ บริการรวดเร็วทันใจ ขอแนะนำประกันภัยรถยนต์ จากวิริยะประกันภัย หลากหลายประกันภัยที่สามารถคุ้มครองรถยนต์ของคุณได้ไม่ว่าจะเป็น ประกันชั้น 1 ที่ดูแลครบ จบทุกความต้องการหรือ ประกันรถยนต์ 2+ ซื้อง่ายคุ้มครองเร็ว หรือประกันรถยนต์ 3+ ประกันคุ้มจบในที่เดียว ที่วิริยะประกันภัยเรามีครบจบที่เดียวสามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.viriyah.com หรือ โทร.สอบถามได้ที่เบอร์ 0-2129-7474

อ่านบทความอื่นๆ