ระบบสตาร์ทรถแบบ Push Start กับ ระบบบิดกุญแจ แตกต่างกันอย่างไร?

ระบบสตาร์ทรถแบบ Push Start กับ ระบบบิดกุญแจ แตกต่างกันอย่างไร?
ระบบสตาร์ทรถแบบ Push Start กับ ระบบบิดกุญแจ แตกต่างกันอย่างไร?

 

      ปัจจุบันเทคโนโลยียานยนต์หรือนวัตกรรมใหม่ๆ ของรถยนต์ได้รับการพัฒนาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นระบบเครื่องยนต์ ดีไซน์ และหนึ่งในนั้นก็คือวิธีสตาร์ทรถด้วยปุ่มสตาร์ท ที่ช่วยอำนวยความสะดวกสบายให้กับผู้ขับขี่ หรือที่หลายๆ คนรู้จักกันในชื่อ “ระบบ Push Start” ที่เพียงกดปุ่มก็สามารถสตาร์ทรถได้ทันที ซึ่งวิธีสตาร์ทรถด้วยระบบ Push Start ที่เพิ่มเข้ามาในรถยนต์รุ่นใหม่ๆ นั้นมีความแตกต่างจากระบบบิดกุญแจที่ใช้อยู่เดิมอย่างไร และมีข้อดีข้อเสียอะไรบ้างไปดูกัน

 

ระบบ Push Start กับ ระบบบิดกุญแจ แตกต่างกันอย่างไร?

วิธีสตาร์ทรถด้วยปุ่มสตาร์ท หรือที่เรียกกันว่า “ระบบ Push Start” เป็นวิธีสตาร์ทรถที่พบเห็นได้บ่อยๆ ในรถยนต์รุ่นใหม่ๆ ที่ถูกออกแบบมาแทนการใช้ระบบบิดกุญแจเพื่อสตาร์ทนั่นเอง เรียกได้ว่าช่วยเพิ่มความสะดวกสบายในการขับขี่ให้กับผู้ใช้งานเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการสตาร์ทรถ ล็อครถหรือเปิดท้ายรถ ก็ทำได้ง่ายขึ้นกว่าระบบกุญแจที่จะต้องนำไปเสียบถึงจะสามารถสตาร์ทได้ 

ถึงเเม้ว่าระบบบิดกุญแจจะเป็นระบบที่ดูคลาสสิก แต่การใช้งานก็เทียบเท่ากับระบบ Push Start เช่นเดียวกัน เพียงแต่ต้องใช้เวลามากกว่าเท่านั้น ที่สำคัญหากเกิดการสึกหรอหรือกุญแจหายก็ยังสามารถใช้งานได้ เพียงแค่ทำใหม่ซึ่งมีราคาไม่แพง อีกทั้งยังพกพาง่าย ไม่ต้องกังวลเรื่องของแบตเตอรี่อีกด้วย

 

ระบบ Push Start คืออะไร?

Push start คือ ระบบที่ทำหน้าที่เหมือนกับระบบบิดกุญแจในการสตาร์ทรถ เปิดระบบต่างๆ ภายในรถ ด้วยการกดปุ่มเพียงปุ่มเดียวโดยที่ไม่ต้องใช้กุญแจเสียบเพื่อบิดสตาร์ท โดยระบบ Push Start จะทำงานคู่กับ Smart key ที่เปรียบเสมือนรีโมท ที่มีการเชื่อมต่อกับระบบต่างๆ ของรถยนต์ ซึ่งผู้ใช้งานจำเป็นต้องมี Smart key อยู่กับตัวหรืออยู่ในรถเสมอ ถึงจะสามารถสตาร์ทรถและใช้ฟังก์ชันต่างๆ ได้ 

 

ข้อดีของระบบ Push Start 

ขึ้นชื่อว่าเป็นเทคโนโลยียนตรกรรมสมัยใหม่ที่เพิ่มเข้ามาในรถยนต์รุ่นใหม่ๆ เพื่อช่วยให้ผู้ขับขี่มีความสะดวกสบายมากขึ้น ซึ่งแน่นอนว่ามาพร้อมข้อดีมากมาย ดังนี้

  1. มีความสะดวกสบายและง่ายต่อการใช้งาน ไม่ต้องเสียเวลาหาช่องเสียบกุญแจ เวลาเร่งรีบหรือในตอนกลางคืน

  2. มี Smart key  ที่เข้ามาช่วยคอยอำนวยความสะดวกต่างๆ ในการใช้งาน รวมถึงเรื่องของความปลอดภัยทั้งการเปิด - ล็อครถ และการสตาร์ทรถอีกด้วย

  3. รถยนต์ที่มีระบบ Push Start จะมีระบบความปลอดภัยที่ชื่อว่า Immobilizer หรือระบบกันขโมย ซึ่งระบบกันขโมยนี้จะทำงานผ่านกล่อง ECU ที่จำแต่รหัสโค้ดของ Smart key รถคันนั้นๆ เอาไว้ หากไม่อยู่ในระยะสัญญาณหรืออยู่ในรถ ผู้อื่นที่ไม่ใช่เจ้าของจะไม่สามารถเข้ามาในรถหรือสตาร์ทรถได้

 

ข้อเสียของระบบ Push Start

แน่นอนว่าของทุกสิ่งมีข้อดี ก็ย่อมมีข้อเสียเช่นเดียวกัน ไปดูกันว่าข้อเสียของระบบ Push Start มีอะไรบ้าง

  1. อายุการใช้งานของระบบ Push Start ไม่ทนทานเท่ากับการใช้วิธีสตาร์ทรถด้วยการบิดกุญแจสตาร์ท เพราะเป็นระบบไฟฟ้าและเซ็นเซอร์ต่างๆ ที่อาจเกิดความเสียหายได้ง่าย

  2. หาก Smart keyหาก หาย คุณจะไม่สามารถสตาร์ทรถได้เลย และหากเปิดประตูรถระบบ Keyless จะทำการส่งสัญญาณเตือนด้วยเสียง

  3. ตัว Smart key มีราคาสูง

 

ทั้งหมดนี้คือความแตกต่างของระบบ Push Start กับระบบบิดกุญแจสตาร์ท รวมถึงข้อดีและข้อเสียของระบบ Push Start ที่ทางเราเอามาฝากผู้ใช้งานทุกคน เห็นประโยชน์และข้อดีข้อเสียของระบบกันไปแล้ว ก็อย่าลืมศึกษาข้อมูลให้ละเอียดถี่ถ้วนก่อนเลือกใช้งานกันนะครับ

ใครที่กำลังมองหาประกันรถยนต์ที่มีคุณภาพ บริการรวดเร็วทันใจ เป็นธรรมอยู่ เราขอแนะนำประกันภัยรถยนต์ จากวิริยะประกันภัย หลากหลายประกันภัยที่สามารถคุ้มครองรถยนต์ของคุณได้ไม่ว่าจะเป็น ประกันชั้น 1 ที่ดูแลครบ จบทุกความต้องการหรือ ประกันรถยนต์ 2+ ซื้อง่ายคุ้มครองเร็ว หรือประกันรถยนต์ 3+ ประกันคุ้มจบในที่เดียว และใครที่กำลังมองหาการต่อพรบรถยนต์ที่คุ้มค่า ที่วิริยะประกันภัยเรามีครบจบที่เดียวสามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่www.viriyah.com หรือ โทร.สอบถามได้ที่เบอร์ 0-2129-7474

อ่านบทความอื่นๆ